Published by Crackers Books,

25 February 2024

https://crackersbooks.com/blogs

Blog Series: How to Crack for PhD/Postgrad Studies (4/6)


การสร้างข้อถกเถียง (Arguments) ในทางสังคมศาสตร์: บทเรียนจากสถาปนิก


รศ.ดร.วัชรพล พุทธรักษา

หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (รัฐศาสตร์) มหาวิทยาลัยนเรศวร





บทนำ

ลองนึกภาพว่าคุณเป็นสถาปนิกที่ได้รับมอบหมายให้ออกแบบอาคารที่ไม่เพียงแต่มีรูปลักษณ์ที่สวยงามเท่านั้น แต่ยังต้องมีโครงสร้างที่แข็งแรงมั่นคงอีกด้วย กระบวนการนี้คล้ายกันกับการออกแบบข้อถกเถียง (Arguments) ในงานวิจัยทางสังคมศาสตร์ โดยเฉพาะในการทำวิจัยระดับปริญญาเอกหรือปริญญาโท งานวิจัยในระดับบัณฑิตศึกษานั้นต้องการรากฐานของงานวิจัยประกอบไปด้วยหลักฐานข้อมูล (Evidence) ที่แข็งแกร่ง กรอบความคิด (Framework) ที่แนวคิดต่าง ๆ ล้วนสอดคล้องต้องกัน ตลอดจนมีสุนทรียภาพของการเล่าเรื่องที่โน้มน้าวใจผู้อ่านอีกด้วย ในโพสต์ลำดับที่ 4 ของซีรีส์ How to Crack นี้ เราจะร่วมกันทำการสำรวจศิลปะแห่งการสร้างข้อถกเถียงในสังคมศาสตร์ โดยเทียบเคียงกับกระบวนการที่พิถีพิถันของการออกแบบในทางสถาปัตยกรรม


1: การวางรากฐาน (Laying the Foundation)

ก่อนที่สถาปนิกจะเริ่มขีดเขียนบรรทัดแรกของพิมพ์เขียว พวกเขาจะต้องเข้าใจพื้นที่ที่จะใช้สร้าง ในทำนองเดียวกัน รากฐานของการออกแบบข้อถกเถียงในงานวิจัยทางสังคมศาสตร์ของคุณควรวางด้วยความเข้าใจอย่างถ่องแท้เกี่ยวกับวรรณกรรมและทฤษฎีที่มีอยู่ (ดูบทความตอนที่แล้ว ว่าด้วยการทบทวนวรรณกรรม) รากฐานการวิจัยของคุณควรมีความครอบคลุมที่มากพอ เพื่อให้แน่ใจว่าข้อถกเถียงในงานวิจัยของคุณมีพื้นฐานที่มั่นคงและผ่านการค้นคว้ามาอย่างดี


2: การออกแบบกรอบความคิด (Designing the Framework)

Framework ของสถาปนิกจะเป็นการกำหนดสร้างรูปร่างให้กับอาคาร โดยกำหนดความแข็งแกร่งและความมั่นคงของอาคาร ในกระบวนการออกแบบข้อถกเถียง framework ในที่นี้คือ thesis statement หรือข้อเสนอหลักในงานวิจัยนี้และในกรอบความคิดนี้ยังรวมถึงประเด็นสำคัญ (Key points) ของคุณอีกด้วย ประเด็นต่าง ๆ แต่ละประเด็นควรสนับสนุนและเชื่อมโยงกับภาพรวมของวิทยานิพนธ์/งานวิจัยของคุณ ทำให้เกิดเป็นโครงสร้างของเหตุผลที่สมเหตุสมผลและง่ายต่อการทำความเข้าใจโดยผู้อ่าน


3: การเลือกวัสดุของคุณ (Choosing Your Materials)

เช่นเดียวกับที่สถาปนิกนั้นเลือกวัสดุสำหรับทั้งการใช้งานและเพื่อความสวยงาม แต่เมื่อเทียบกับงานวิจัยของคุณ ก็คือการที่ต้องเลือกหลักฐานและตัวอย่างต่าง ๆ ที่ไม่เพียงแต่เพื่อสนับสนุนข้อถกเถียงของคุณเท่านั้น แต่ยังเพื่อดึงดูดผู้อ่านของคุณด้วย นักวิจัยสามารถใช้ข้อมูล กรณีศึกษาต่าง ๆ และข้อถกเถียงทางทฤษฎีที่ผสมผสานกันเพื่อสร้างความแข็งแกร่งให้กับข้อเสนอในงานของคุณ


4: การสร้างข้อโต้แย้ง (Constructing the Argument)

ด้วยแผนการก่อสร้างและวัสดุที่จัดการไว้แล้ว สถาปนิกจึงเริ่มกระบวนการก่อสร้าง ในทำนองเดียวกัน ให้นักวิจัยเริ่มสร้างข้อถกเถียงของงานวิจัยไปทีละส่วน แต่ละย่อหน้าในงานเขียนควรเป็นเหมือน “พื้นแต่ละชั้น” ของอาคารที่ทำหน้าที่รวบรวมแนวคิดให้เป็นหนึ่งเดียว หรือรวบรวมหลักฐานต่าง ๆ เพื่อทำหน้าที่สนับสนุนโครงสร้างโดยรวมของงานวิจัยหรือวิทยานิพนธ์


5: สุนทรียศาสตร์และการเล่าเรื่อง (Aesthetic and Narrative)

สถาปนิกรู้ดีว่าความสวยงามของอาคารนั้นมีความสำคัญพอ ๆ กันกับโครงสร้างของตัวอาคาร ในการเขียนงานวิจัย/วิทยานิพนธ์ของคุณ โปรดให้ความใส่ใจกับการเล่าเรื่องของงานวิจัยด้วย! รวมไปถึงความลื่นไหลของเรื่องราวและ สุนทรียะเกี่ยวกับข้อถกเถียงของคุณ การใช้ภาษาที่ชัดเจนและโน้มน้าวใจผู้อ่าน และตรวจสอบให้แน่ใจว่าข้อถกเถียง/ข้อเสนอของคุณไม่เพียงแต่มีความหนักแน่นเท่านั้น แต่ยังน่าดึงดูดและเชิญชวนให้มีส่วนร่วมอีกด้วย


6: การตรวจสอบและข้อเสนอแนะ (Inspection and Feedback)

เช่นเดียวกับที่อาคารที่ก่อสร้างเสร็จจะได้รับการตรวจสอบว่าเป็นไปตามมาตรฐานการออกแบบและความปลอดภัย ข้อเสนอ/ข้อถกเถียงในงานวิจัยของคุณก็ควรได้รับการตรวจสอบและวิพากษ์จากผู้อื่นเช่นกัน ให้นักวิจัยพยายามขอคำติชม/ความเห็นจากอาจารย์ที่ปรึกษาและเพื่อนร่วมงาน และเปิดใจกว้างเพื่อแก้ไขงานของคุณ กระบวนการนี้จะทำให้ข้อถกเถียงในงานของคุณแข็งแกร่งขึ้น และทำให้มั่นใจว่าจะสามารถต้านทานต่อการพินิจและวิจารณ์ทางวิชาการได้


7: อาคารสุดท้าย (The Final Edifice)

หลังจากการวางแผน ก่อสร้าง และการปรับแต่งมากมาย อาคารของสถาปนิกก็เสร็จสมบูรณ์พร้อมที่จะให้ชื่นชมและใช้ประโยชน์ ในทำนองเดียวกัน ข้อถกเถียงที่มีโครงสร้างอย่างดีของคุณจะเป็นเครื่องพิสูจน์ถึงการทำงานหนักและความเข้มงวดทางวิชาการของคุณก็จะได้มีส่วนสำคัญในการมอบองค์ความรู้และข้อถกเถียงใหม่ ๆ ให้กับวงวิชาการของคุณ


บทสรุป

การสร้างข้อถกเถียงในการวิจัยทางสังคมศาสตร์ก็เปรียบเหมือนกับการออกแบบและการก่อสร้างอาคารที่ต้องมีการวางแผนอย่างรอบคอบ ต้องมีเนื้อหาที่แข็งแกร่ง (หลักฐาน) กรอบแนวคิดที่หนักแน่น (ข้อเสนอหลักและประเด็นสำคัญต่าง ๆ) อีกทั้งยังต้องมีการเล่าเรื่องที่น่าสนใจด้วย กล่าวได้ว่าด้วยความพยายามสร้างข้อถกเถียงของคุณด้วยความแม่นยำของข้อมูลและความคิดสร้างสรรค์แบบของสถาปนิก คุณจะสามารถสร้างผลงานทางวิชาการที่น่าสนใจ โน้มน้าวผู้อ่านได้ อีกทั้งยังเป็นงานวิชาการที่มีโครงสร้างที่แข็งแกร่งได้อย่างแน่นอน


(สัปดาห์หน้าพบกับบทความในซีรีส์ How to Crack ตอนที่ 5 Time Management)



Premium isolated images

พื้นที่ประชาสัมพันธ์

Shop now
Isolated Shelf on White

The Adventure Series

Financial Literacy Series

Facebook Logo Vector
Youtube Official Icon
TikTok Logo Icon