Published by Crackers Books,

18 August 2024​

https://crackersbooks.com/blogs​


"เสื้อมือสอง/เสื้อวินเทจ สู่การสร้างความหมายใหม่ทางวัฒนธรรม”

ธนกร บุญยืน






บทความชิ้นนี้ดัดแปลงมาจากวิทยานิพนธ์ระดับปริญญาตรีเสนอภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา คณะสังคมศาสตร์

มหาวิทยานเรศวร เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาหลักสูตรศิลปศาสตร์บัณฑิต สาขาพัฒนาสังคม ศึกษาและค้นคว้าโดยผู้เขียนซึ่งมี

ผศ.ดร. กมเลศ โพธิกนิษฐ เป็นอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์”


"เสื้อมือสอง/เสื้อวินเทจ สู่การสร้างความหมายใหม่ทางวัฒนธรรม”


ปัจจุบัน "เสื้อมือสอง" หรือ "เสื้อวินเทจ" ได้รับความนิยมอย่างมากในหมู่วัยรุ่น โดยเฉพาะในกลุ่มดารา นักร้อง และนักแสดง ซึ่งถือเป็นผู้มีอิทธิพลใน​อุตสาหกรรมแฟชั่น เสื้อยืดแนววินเทจที่พ่อค้าแม่ขายและนักสะสมเรียกว่า ‘ผ้าบาง’ มีราคาตั้งแต่หลักร้อยจนถึงหลักหมื่น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสภาพความสมบูรณ์​และความหายากเป็นหลัก ในตลาดของมือสองเสื้อยืดวินเทจมีความคล้ายกับกระเป๋า นาฬิกา รองเท้า เครื่องประดับ และพระเครื่อง ซึ่งมีทั้งคุณค่าทางจิตใจ​และการใช้งาน ดังนั้น สินค้าประเภทนี้จึงกลายเป็น "ของมันต้องมี" ในประเทศไทย เสื้อยืดวินเทจมักมาจากตลาดของเก่า โดยส่วนใหญ่มาจากสหรัฐอเมริกา​และยุโรป ซึ่งถูกส่งต่อไปยังประเทศที่ยังมีความต้องการเสื้อผ้า เช่น แอฟริกา เอเชีย และปากีสถาน เมื่อเสื้อผ้าเหล่านี้มีจำนวนมากกว่าความต้องการ ธุรกิจที่​ประมูลซื้อเสื้อผ้าเหล่านี้จึงเกิดขึ้น เพื่อนำไปอัดเป็นมัดและส่งขายไปยังประเทศต่างๆ อีกรอบ แบบที่เราได้ยินคำว่า เสื้อเปิดกระสอบ และเสื้อวินเทจคัดเกรด


แต่อย่างไรก็ตามเมื่อพิจารณา "เสื้อมือสอง" หรือ "เสื้อวินเทจ" ด้วยกรอบแนวคิดทฤษฎีวัฒนธรรมวัยรุ่น (Youth Culture) ในฐานะที่เป็นวัฒนธรรมกระแส​รอง ภายใต้แนวคิดของ ดิค เฮบดิก(Dick Hebdige) พบว่านอกเหนือจากความนิยมชมชอบจากการบริโภคแล้ว การสวมใส่ "เสื้อมือสอง" หรือ "เสื้อวินเทจ" ​ในหมู่วัยรุ่นยังสร้างความหมายให้ตัวเองภายใต้สินค้าที่บริโภค ซึ่งมีลักษณะเป็นการต่อต้านขันขืนวัฒนธรรมที่ชี้นำโดยผู้ใหญ่


ดังนั้น บทความนี้จึงมี​วัตถุประสงค์หลักเพื่อนำเสนอกรอบแนวคิดเชิงทฤษฎีที่ว่าด้วย วัฒนธรรมวัยรุ่น (Youth Culture) ภายใต้กรอบแนวคิดของ ดิค เฮ​บดิก (Dick Hebdige) ซึ่งนำเสนอถึงการนำกระบวนการตัดแปะ (cut and mix process) ซึ่งแสดงให้เห็นถึงการสร้างความหมายใหม่ผ่านการบริโภค และ​การสวมใส่


Dick Hebdige กับ "กระบวนการตัดแปะ" (Cut-and-mix Process) การสร้างความหมายใหม่ของวัยรุ่น


Dick Hebdige (ดิ๊ก เฮบดิก) เป็นนักวัฒนธรรมศึกษา สำนักวัฒนธรรมศึกษาเบอริงแฮม ด้วยแนวคิด "กระบวนการตัดแปะ" (Cut-and-mix Process) ซึ่ง​เป็นการเลือก (Cut) เอาสัญลักษณ์หรือองค์ประกอบ ของวัฒนธรรมที่อยู่รอบตัวมาดัดแปลง/ สร้างความสัมพันธ์ ใหม่ เพื่อ "ผสมผสาน" (Mix) จนเกิด ​"สไตล์" (Style) ที่เป็นเอกลักษณ์ของตนเอง โดยมีกระบวนการ บริโภค (Consumie) เป็นเครื่องมือที่สำคัญในการ เข้าถึงสัญลักษณ์หรือองค์ประกอบของ​วัฒนธรรม ดังกล่าว สำหรับ Hebdige "การสร้างสรรค์สไตล์" (Style) ตามแนวคิด "กระบวนการตัดแปะ" ถือเป็น "รูปแบบ เฉพาะเชิงสัญลักษณ์ของแต่ละ​วัฒนธรรม" ซึ่งผสมผสานองค์ประกอบ (Element) ของวัฒนธรรมต่างๆนำมาสร้างความสัมพันธ์แบบใหม่ขึ้นมาเพื่อให้เกิดความหมายเฉพาะกลุ่มวัยรุ่น ​(ขนิษฐา อุดมวิทยาไกร, 2550, น.10) นอกจากนี้ Mike Brake(1990) ซึ่งสอดคล้องกับเฮบดิก ยังได้อธิบายเพิ่มเติมว่ารูปแบบที่ทำให้เกิดตัวบ่งชี้ที่สำคัญทั้ง​ยังแสดงให้เห็นถึงความเป็นสมาชิก โดยปรากฏออกมาซึ่งมีองค์ประกอบด้วยรายละเอียดดังนี้ 1) ภาพลักษณ์การแต่งกาย (Image) 2) กิริยาท่าทางและการ​วางตัว (Demeanor) 3 )การใช้ภาษาเฉพาะหรือศัพท์แสลง (Argot) 4 ) พื้นที่การแสดงตัวตน เพื่อเป็นการปฏิเสธวัฒนธรรมแบบผู้ใหญ่ที่เป็นวัฒนธรรม​กระแสหลักซึ่งมีอำนาจในการสร้างภาพต้นฉบับ (Stereotype) ว่าวัยรุ่นควรเป็นอย่างไร


พิจารณาเสื้อมือสอง/เสื้อวินเทจ ผ่านกระบวนการตัดแปะ

เมื่อพิจารณาเสื้อมือสอง/เสื้อวินเทจผ่านกระบวนการตัดแปะพบว่าวัยรุ่นผู้ที่นิยมชมชอบในเสื้อมือสอง/เสื้อวินเทจ ปฏิเสธวัฒนธรรมแบบผู้ใหญ่ในลักษณะ​ของการต่อต้านขัดขืนวัฒนธรรมที่เป็นวัฒนธรรมกระแสหลักซึ่งมีอำนาจในการสร้างภาพต้นฉบับ (Stereotype) ผ่านการสร้างบรรทัดฐาน (Norm) เมื่อ​อ้างอิงจากแผนการจัดการเรียนรู้ของ DLTV มูลนิธิการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม (DLTV, 2564) โรงเรียนหรือสถาบันอื่นๆ มักพบว่าการแต่งกายของวัย​รุ่น เสื้อผ้าของวัยรุ่น ควรเรียบร้อย สุภาพ สะอาดและใหม่ โดยให้เหตุว่า ความสะอาดเป็นสิ่งที่ทำให้เกิดความงาม และช่วยสร้างความเชื่อถือ ไว้วางใจให้กับ​ตัวเอง ทั้งนี้เสื้อมือสอง/เสื้อวินเทจ นั้นมักมีลักษณะที่เก่า ขาด หรือมีตำหนิ ซึ่งแสดงให้เห็นถึง"สไตล์" (Style) ที่เป็นเอกลักษณ์ของตนเอง โดยมีกระบวนการ ​บริโภค (Consumie) เป็นเครื่องมือที่สำคัญในการ เข้าถึงสัญลักษณ์หรือองค์ประกอบของวัฒนธรรม ดังกล่าว ทั้งนี้เมื่อมองผ่านกระบวนการตัดแปะพบว่า

1) ภาพลักษณ์การแต่งกายในหมู่วัยรุ่นผู้ที่นิยมชมชอบในเสื้อมือสอง/เสื้อวินเทจ มักถูกเรียกกันเองด้วยคำว่า “พวกบ้าผ้าบาง” พวกบ้าผ้าบาง มักมีภาพ​ลักษณ์การแต่งการด้วยเสื้อมือสอง/เสื้อวินเทจ พร้อมกับกางเกงยีนส์รองเท้าผ้า เป็นประจำเพื่อเป็นการท้าทายกับวัฒนธรรมการแต่งตัวด้วยเสื้อผ้ามือหนึ่ง​ซึ่งถือว่าเป็นวัฒนธรรมกระแสหลักในสังคม


2) กิริยาท่าทางและการวางตัว แม้กิริยาท่าทางการวางตัวมักคล้ายๆกับคนทั่วๆไปไม่ได้หวือหวาซึ่งแสดงถึงข้อแตกต่างจากบุคคลทั่วไปนัก แต่เมื่อสังเกต​พวกบ้าผ้าบางเรามักพบกิริยาท่าทางในลักษณะของการพูดคุยกันเรื่องเสื้อ การฟังเพลงที่มีลักษณะเป็นดนตรีนอกกระแสสังคมในไทยเช่น คณะขวัญใจ, ไว​วิทย์, whatfalse หรือดนตรีในยุคเก่าซึ่งอาจพบเห็นการฟังได้ตั้งแต่ยุค 1960s เช่นเพลงของ Creedence Clearwater Revival, Grateful dead ไปจนถึง​เพลงในยุค 1980s หรือ 1990s เช่นเพลงของ Guns N' Roses, Metallica


3) การใช้ภาษาเฉพาะหรือศัพท์แสลง ซึ่งถือว่าเป็น "รูปแบบเฉพาะ" ทั้งนี้คำศัพท์ที่พบจากกลุ่มพวกบ้าผ้าบางพบใน 2 ลักษณะใหญ่ๆ ประกอบด้วย

ประเภทเสื้อ เช่น


เสื้อวินเทจ หมายความว่า เสื้อมีอายุนับตั้งแต่ผลิตมาแล้วถึง 20 ปี


เสื้อมือสอง หมายความว่า เสื้อที่ถูกใช้มาแล้วนำมาขายต่อหรือถูกบริจาคมา


เสื้อวง หมายความว่า เสื้อที่พิมพ์ลายวงดนตรี


เสื้อการ์ตูน หมายความว่า เสื้อที่พิมพ์ลายการ์ตูน


เสื้อ Harley หมายความว่า เสื้อที่พิมพ์ลายของบริษัท Harley-Davidson


เสื้อ Bootleg หมายความว่า เสื้อปลอมที่ถูกผลิตโดยแฟนเพลงของวงดนตรีนั้นๆที่ถูก นำมา

วางขายหน้างานคอนเสิร์ตในยุคนั้นๆ


ลักษณะของเสื้อ เช่น


ผ้าบาง หมายความว่า เสื้อเสื้อที่มีส่วนประกอบด้วยผ้าคอตตอน 50% ผ้าโพลีอีสเตอร์ 50%


ผ้า 3 เนื้อ(ผ้าทราย) หมายความว่า ผ้าที่มีส่วนประกอบด้วย คอตตอน โพลีอีสเตอร์ และเรยอง


3D หมายความว่า เสื้อที่ผลิตในยุค 1940s-1960s บางตัวลึกไปถึงยุคปี 1930s


ตะเข็บเดี่ยว หมายความว่า เสื้อที่เย็บด้วยตะเข็บตอนเดียวมักเห็นในเสื้อที่ผลิตก่อนยุค 2000s

เนื่องด้วยเทคโนโลยีในการผลิตสมัยนั้นจึงทำให้เสื้อในยุคนั้นถูกเย็บด้วยตะเข็บตอนเดียว


ตอกปี หมายความว่า เสื้อซึ่งมีการพิมพ์ปีที่ผลิตอยู่กับลายของเสื้อซึ่งถือว่าเป็นการบ่งบอก

อายุของเสื้อได้เช่นกัน


สีเฟด หมายความว่า เสื้อที่มีลักษณะของสีซีดหรือจาง


รูมด หมายความว่า เสื้อที่มีตำหนิซึ่งเป็นลักษณะของรูขนาดเล็กบนตัวเสื้อ


4) พื้นที่ของการแสดงออกถึงตัวตนการเปิดเผยตัวตน รวมถึงการรู้จักสถานที่ของการแสดงตัวตน

นั้น โดยกลุ่มพวกบ้าผ้าบางส่วนใหญ่นั้น มีการแสดงออกถึงตัวตนใน 2 ลักษณะ คือ

1) พื้นในทางสื่อ Social media เช่น กลุ่มตลาดซื้อขายใน Facebook Line Group Instagram เว็ปไซต์


2) คือในทางพื้นที่ทางกายภาพ เช่น ร้านเหล้า ร้านกาแฟ ตลาดนัด ร้านค้าเสื้อผ้ามือสอง ทั้งสองพื้นที่เป็นพื้นที่แห่งสะท้อนให้เห็นถึงอัตลักษณ์ทางการแต่ง​กาย ที่ไม่จำเป็นต้องตรงกับบรรทัดฐานทางสังคมที่กำหนดไว้ว่าด้วยการแต่งกายด้วยเสื้อผ้ามือหนึ่งที่ใหม่สะอาดไร้ตำหนิ ทั้งสองพื้นที่ได้ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อ​ทำการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น การปรึกษาเรื่องเสื้อยืดเป็นส่วนมาก รวมทั้งการสร้างพื้นที่เฉพาะในกลุ่มผู้นิยมและชื่นชอบในเสื้อยืดมือสองที่มีการแลก​เปลี่ยนความคิดเห็นความชอบ ทัศนคติของกันและกัน



บทสรุป

เสื้อยืดมือสอง/เสื้อวินเทจ ในฐานะของการเป็นวัฒนธรรมวัยรุ่น สรุปได้ว่า การเปิดเผยความชอบ เปิดเผยตัวตนในสังคม โดยไม่สนใจในเรื่องการแต่งกาย​กระแสหลักที่มีการกำหนดให้เรื่องการแต่งกายได้ถูกกำหนดไว้ให้ถูกต้องตามกาลเทศะมีความสะอาดมีความสุภาพ เรียบร้อยมีความเหมาะสมกับวัยมีความ​เหมาะสมกับรูปร่างมีความเหมาะสมกับฐานะและความเป็นอยู่มีความประหยัด แต่เป็นการสนใจในเรื่องทุกคนสามารถมีสิทธิ์เลือก หรือกำหนดตัวตน วิถี​ชีวิต ของตนเองได้โดยไม่ต้องให้สังคมกำหนด โดยเน้นในทางด้านความชอบความนิยมและความเป็นตัวตน มากกว่าการที่ต้องมากำหนดว่าต้องแต่งกาย​อย่างไร ดังนั้น การต่อต้าน ต่อรองของกลุ่มวัฒนธรรม ย่อยที่ถูกคิดเรื่องการแต่งกายกระแสหลัก มีลักษณะในการใช้รูปแบบเชิงสัญลักษณ์รูปแบบหนึ่งที่ ​เรียกว่า กระบวนการตัดแปะ(Cut & Mix) โดยเป็นการประกอบสร้างความคิด ความเชื่อเรื่องการแต่ง กายของกลุ่มผู้ชื่นชอบและนิยมเสื้อยืดมือสองขึ้นมา ​และใช้วิธีการตัดความคิด ความเชื่อที่มีต่อ วัฒนธรรมกระแสหลักทางการแต่งกายแบบเดิมพร้อมทั้งสร้างชุดความจริงใหม่ของตนเองที่ให้คุณค่า และความ​หมายของการแต่งให้ถูกกาลเทศะโดยไม่ทิ้งตัวตนของการสวมใส่เสื้อยืดมือสอง และการถูก กำหนดการแต่งกายออก ซึ่งพวกบ้าผ้าบางได้ประกอบสร้าง​ความหมายใหม่ ใช้วิธีการตัดแนวคิด วัฒนธรรมกระแสหลักเรื่องการแต่งกายและได้ผสานความชื่นชอบ ความหลงไหลในเสื้อยืดมือสองและ สร้างความคิด ​ความเชื่อความสัมพันธ์แบบใหม่ขึ้นมาที่สามารถแสดงถึงความเป็นตัวตน สร้าง ความหมายเฉพาะกลุ่มตัวผู้ชื่นชอบและนิยมในเสื้อยืดมือสอง


บรรณานุกรม


กมเลศ โพธิกนิษฐ. (มิถุนายน 2561). คนชายขอบกับการพัฒนา Marginalized People and

Development. เอกสารประกอบการสอนรายวิชา 830386 คนชายขอบกับการพัฒนา Marginalized People and Development


ขนิษฐา อุดมวิทยาไกร. (2550). กระบวนการสื่อสารทางวัฒนธรรมของกลุ่มวัยรุ่นฮิพฮอพในสังคมไทย.

(วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, คณะวารสารศาสตร์และ สื่อสารมวลชน, สาขาสื่อสารมวลชน.


มูลนิธิการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม-DLTV.(2564). การเลือกใช้เสื้อผ้าที่เหมาะสมกับรูปร่างและวัย

บุคลิกภาพของตนเอง. สืบค้นเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2567 จาก https://dltv.ac.th/teachplan/episode/37550


เล่าเรื่อง "เสื้อยืดวินเทจ" กับการเป็น "ของสะสม" ทุกวันนี้น่าลงทุนแค่ไหน? (2022) สืบค้นเมื่อวันที่ 8

สิงหาคม 2567 จาก https://www.bangkokbiznews.com/lifestyle/judprakai/1021022


Mike Brake. Comparative Youth Culture: The Sociology of Youth Cultures and Youth Subcultures

in America, Britain, and Canada. London: Routledge, 1990.


Dick Hebdige, Subculture : The meaning of style, London : Methuen, 1979.















Premium isolated images

พื้นที่ประชาสัมพันธ์

ขอเชิญรับฟัง Podcast จากสำนักพิมพ์ Crackers Books

และรับฟังทุกรายการได้ที่ crackersbooks.com/podcasts

Flat Youtube Icon

ติดต่อโฆษณา โทร 0953394114

Inbox now rectangle button call to action CTA drop shadow
Sleek Clean Monoline Decorative Click