Published by Crackers Books, 21 January 2024

Critical Realism

Critical Realism: A Concise Overview

  1. Philosophical Underpinnings: Critical Realism, primarily developed by Roy Bhaskar, argues that reality exists independently of our perceptions or understanding. It distinguishes between the real world (which includes unobservable structures), the actual world (where events occur), and the empirical world (what is observed) (Bhaskar, 2020)(Bhaskar, 2020).
  2. Ontology and Epistemology: This approach emphasizes a stratified reality where underlying mechanisms not directly observable can generate observable events. Critical Realism posits that while we can never fully know reality, we can understand it more deeply by exploring these underlying mechanisms (Mingers, 2011)(Mingers, 2011).
  3. Causation and Agency: It proposes a complex view of causation that includes both structure and agency, arguing that social events are the product of both enduring structures and human actions (Roberts, 2014)(Roberts, 2014).
  4. Application in Social Sciences: Critical Realism is particularly influential in social sciences and education, offering a framework for understanding the complex interplay of social structures and individual agency (Ayers, 2011)(Ayers, 2011).
  5. Methodological Implications: It encourages the use of mixed methods in research, arguing that different methods can reveal different layers of reality. It also underscores the importance of context in understanding social phenomena (Wikgren, 2005)(Wikgren, 2005).


Conclusion

Critical Realism offers a nuanced framework for understanding reality, particularly in the context of social sciences. It acknowledges the complexity of the world and the limitations of our knowledge while providing a robust approach for exploring the deep structures that shape observable phenomena.


Bibliography

  1. Bhaskar, R. (2020). Critical Realism. SAGE Research Methods Foundations. Link
  2. Mingers, J. (2011). The Contribution of Systemic Thought to Critical Realism. Journal of Critical Realism, 10, 303-330. Link
  3. Roberts, J. (2014). Critical Realism and Dialectical Critical Realism. Link
  4. Ayers, D. (2011). A Critical Realist Orientation to Learner Needs. Adult Education Quarterly, 61, 341-357. Link
  5. Wikgren, M. (2005). Critical realism as a philosophy and social theory in information science? Journal of Documentation, 61, 11-22. Link


Recommended Citation

Crackers Books. (2024, January 21). Critical Realism: A Concise Overview [Crackers Basics]. Retrieved from https://crackersbooks.com/basics-009-critical-realism

Facebook Logo Vector
Youtube Official Icon
TikTok Logo Icon

สวัสดีครับ พบกับ Episode ที่ 9 ของรายการ Crackers Basic Podcast นะครับ


เพราะเรื่องราวและปรากฏการณ์ที่ซับซ้อน

ไม่อาจเข้าใจได้ หากไม่มี basic concenpts ที่ “ดีและมากพอ” นะครับ


Episode 9 วันนี้อธิบายแนวคิดเรื่อง “Critical Realism” หรือ “สัจนิยมเชิงวิพากษ์” กันครับ


ก่อนไปฟัง ขอขอบคุณสปอนเซอร์ใจดีรายแรกของสำนักพิมพ์เรานะครับ สำหรับผู้ที่ไปจ.อุตรดิตถ์ ต้องไม่พลาดการไปทาน “ข้าวมันไก่ ศรี​วัย” ซอยโพธิ์ทิพย์ เยื้องห้าง Friday กลางเมืองอุตรดิตถ์ครับ ร้านเก่าแก่แต่ทันสมัย ทานได้ทุกวัย เมนูหลากหลาย ทั้งข้าวมันไก่ หมูกรอบ ​หมูแดง เนื้ออบ กระเพาะปลา รับรองความอร่อยทุกจาน ทุกเมนูครับ


เรามาเริ่มกันเลยครับ



สัจนิยมเชิงวิพากษ์: ภาพรวมอย่างย่อ


พื้นฐานทางปรัชญา: สัจนิยมเชิงวิพากษ์ ซึ่งพัฒนาโดย Roy Bhaskar เป็นหลัก นั้นเป็นปรัชญาความรู้ทางสังคมศาสตร์ที่เสนอว่า “ความ​จริง” (Reality) นั้นมีอยู่โดยเป็นอิสระจากการรับรู้หรือความเข้าใจของเรา สัจนิยมเชิงวิพากษ์จำแนกความแตกต่างระหว่างโลกแห่งความ​เป็นจริง (ซึ่งรวมถึงโครงสร้างที่ไม่สามารถสังเกตได้) หรือโลกแห่งเหตุการณ์ (ที่เหตุการณ์เกิดขึ้น) (Actural world) และโลกเชิงประจักษ์ ​(Empirical world) (สิ่งที่สังเกตเห็นได้) (Bhaskar, 2020).


ภาวะวิทยาและญาณวิทยา: แนวทางปรัชญาแบบสัจจนิยมเชิงวิพากษ์นี้มุ่งเน้นไปที่ ความเป็นจริงที่แบ่งเป็นชั้นๆ (stratified reality) ที่ซึ่ง​กลไกต่างๆที่ทำงานอยู่ภายใต้พื้นผิวนั้นไม่อาจจะถูกสังเกตเห็นได้โดยตรง แต่กลับสามารถสร้างเหตุการณ์ที่ถูกสังเกตได้ขึ้นมา สัจนิยมเชิง​วิพากษ์เสนอว่า แม้ว่าเราจะไม่สามารถรู้เกี่ยวกับความเป็นจริงได้ทั้งหมดอย่างสมบูรณ์ แต่เราสามารถเข้าใจมันลึกซึ้งมากขึ้นได้โดยการ​สำรวจที่กลไกที่ซ่อนอยู่เบื้องหลังเหล่านี้ (Mingers, 2011).


ความสัมพันธ์เชิงเหตุผลและตัวแสดง สัจนิยมเชิงวิพากษ์เสนอมุมมองที่ซับซ้อนเกี่ยวกับความสัมพันธ์เชิงเหตุผล ซึ่งรวมถึงทั้งประเด็นเกี่ยว​กับโครงสร้างและตัวแสดง (structure and agency) โดยเสนอว่าเหตุการณ์ทางสังคมต่างๆ นั้นเป็น “ผลผลิต” ของทั้งโครงสร้างที่ดำรง​อยู่ยาวนาน และการกระทำของมนุษย์ด้วยเช่นกัน (Roberts, 2014).


การประยุกต์ใช้ในสังคมศาสตร์: สัจนิยมเชิงวิพากษ์มีอิทธิพลอย่างมากในสังคมศาสตร์ดยเสนอกรอบในการทำความเข้าใจการมี​ปฏิสัมพันธ์ที่ซับซ้อนซึ่งกันและกันระหว่างโครงสร้างทางสังคมและการกระทำของบุคคล (Ayers, 2011).


นัยยะในทางวิธีวิทยา: สัจนิยมเชิงวิพากษ์ ได้กระตุ้นให้เกิดการใช้วิธีการแบบผสม หรือ mixed methods ในงานวิจัย โดยเสนอว่าวิธีวิทยา​แบบต่างๆ นั้นสามารถเผยให้เห็นชั้น (layers) ต่างๆ ของความเป็นจริงได้ นอกจากนี้ยังขับเน้นความสำคัญของบริบท (context) ในการ​ทำความเข้าใจปรากฏการณ์ทางสังคม (Wikgren, 2005).


บทสรุป เราควรรู้จักสัจนิยมเชิงวิพากษ์ไปทำไม?

สัจนิยมเชิงวิพากษ์ได้เสนอกรอบในการมองความรู้ที่ละเอียดอ่อนในการทำความเข้าใจความเป็นจริง โดยเฉพาะในบริบทของ​สังคมศาสตร์ แนวทางแบบนี้ช่วยเราให้มองเห็นและยอมรับเกี่ยวกับความซับซ้อนของโลกและข้อจำกัดของความรู้ของเรา ในขณะเดียวกัน​การทำความรู้จักแนวคิดวันนี้ ก็สำคัญอย่างมากในการช่วยสำรวจ/ทำความเข้าใจ โครงสร้างในเชิงลึก (deep structure) ที่ดำรงอยู่ มี​กลไกทำงานอยู่และมีส่วนในการ shape หรือกำหนดรูปโฉมของปรากฏการณ์ต่างๆที่เรามองเห็นได้



และสำหรับท่านที่สนใจ หนังสือของสำนักพิมพ์ Crackers Books นะครับ สามารถทักมาสั่งหนังสือได้ที่เพจของเรา หรือไลน์ OA: ​@crackersbooks

ตอนนี้เรามีหนังสือใหม่ว่าด้วยการส่งออกประชาธิปไตยของสหรัฐอเมริกา เขียนโดย อ.ชุติเดช เมธีชุติกุล จากคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัย​รังสิตครับ รวมถึง Crack/ลัทธิมาร์กซ์/101 และเล่มอื่นๆจะทยอยตามมาในอีกไม่นานครับ


ก่อนจากกัน ฝากทุกท่านอย่าลืมติดตาม เพจ Facebook: CrackersBooks ของเรา รวมถึงแวะไปเยี่ยมเยือนเว็บไซต์ ​CrackersBooks.com เพื่อพบกับสาระดีๆมากมายในหลายรูปแบบทั้ง blogs, basics, paper crunch, free reads รวมถึงของที่ระลึก​ต่างๆครับ


พบกันใหม่ใน The Basic-Podcast Ep หน้า ทุกวันพฤหัส ทาง CrackersBooks.com/podcasts หรือทาง Spotify, Apple Podcast, ​YouTube และ Blockdit Podcast ครับ