Published by Crackers Books, 2 February 2024

Integral State

Integral State: A Concise Overview


  1. Gramsci's Integral State Concept: Gramsci developed the concept of the Integral State to encompass both political society (the state, legal system, and police) and civil society (family, education system, and cultural institutions). This concept emphasizes the interplay between coercive and consensual elements in maintaining the hegemony of the ruling class (Thomas, 2009)(Thomas, 2009).
  2. Totalitarian State vs. Integral State: Gramsci's distinction between the totalitarian state and the integral state is important for understanding different forms of political organization. The integral state, despite its hegemonic control, maintains a level of consent among the governed, unlike a totalitarian state that relies more on overt coercion (Lin, 2022)(Lin, 2022).
  3. State and Civil Society Relation: Gramsci's concept underscores the complex relationships between state and civil society. It posits that civil society is not just the arena of voluntary associations but is also a terrain where hegemony is established and contested (Brand, Görg, & Wissen, 2007)(Brand, Görg, & Wissen, 2007).
  4. Hegemony and State Power: The Integral State concept is crucial for understanding how state power is not only about political or economic control but also involves ideological and cultural leadership, shaping the collective will and consensus (Green, 2011)(Green, 2011).
  5. Application in Contemporary Analysis: The Integral State concept remains relevant in modern political analysis, especially in understanding the role of various institutions in perpetuating the status quo under the guise of maintaining social harmony and order (Humphrys, 2018)(Humphrys, 2018).


Conclusion

The Integral State concept provides a nuanced understanding of state power, emphasizing the complex interplay between coercive state institutions and consensual civil society mechanisms in maintaining social order and hegemony.


Bibliography

  1. Brand, U., Görg, C., & Wissen, M. (2007). Verdichtungen zweiter Ordnung: Die Internationalisierung des Staates aus einer neo-poulantzianischen Perspektive. Link
  2. Green, M. E. (2011). Rethinking the subaltern and the question of censorship in Gramsci's Prison Notebooks. Postcolonial Studies, 14(4), 387-404. Link
  3. Humphrys, E. (2018). Anti-politics, the early Marx and Gramsci’s ‘integral state’. Thesis Eleven, 147, 29-44. Link
  4. Lin, Y. (2022). Gramsci, the Relativity of the Integral State-Society, and the COVID-19 Interregnum. Critical Sociology. [Link]
  5. Thomas, P. (2009). Contra The Passive Revolution. Link


Recommended Citation

Crackers Books. (2024, February 2). Integral State: A Concise Overview [Crackers Basics]. Retrieved from https://crackersbooks.com/basics-014-integral-state

Facebook Logo Vector
Youtube Official Icon
TikTok Logo Icon

สวัสดีครับ พบกับ Episode ที่ 14 ของรายการ Crackers Basic Podcast นะครับ


เพราะเรื่องราวและปรากฏการณ์ที่ซับซ้อน

ไม่อาจเข้าใจได้ หากไม่มี basic concenpts ที่ “ดีและมากพอ” นะครับ


Episode 14 วันนี้อธิบายแนวคิดเรื่อง “Integral State หรือ รัฐแบบองค์รวม” ครับ


และสำหรับ Episode นี้นะครับ สนับสนุนโดยร้านขนมปังโฮมเมด Craft Breads by Crackers Books ครับ รับผลิตขนมปัง sourdough ​และ ขนมปัง artisan ตามสั่ง made to orders สนใจสอบถามทักที่แฟนเพจ Craft Breads by Crackers Books ได้เลยครับ


เรามาเริ่มกันเลยครับ


รัฐแบบองค์รวม

ภาพรวมอย่างย่อของรัฐแบบองค์รวม


แนวคิดรัฐแบบองค์รวมของ Gramsci: Gramsci ได้พัฒนาแนวคิดของรัฐแบบองค์รวมเพื่ออธิบายความสัมพันธ์ทางอำนาจบนพื้นที่เสมือน ​2 พื้นที่เข้าด้วยกันได้แก่ สังคมการเมือง (Political society) (รัฐ, ระบบกฎหมาย, และตำรวจ) และ ประชาสังคม (Civil Society) ​(ครอบครัว, ระบบการศึกษา, และสถาบันทางวัฒนธรรม) แนวคิดนี้เน้นการทำงานร่วมกันระหว่างองค์ประกอบของอำนาจที่บังคับใช้และ​องค์ประกอบที่ยินยอม (Force and consent) เพื่อรักษาอำนาจของชนชั้นปกครอง (Thomas, 2009)


รัฐแบบเบ็ดเสร็จกับรัฐแบบองค์รวม: การแยกแยะระหว่างรัฐแบบเบ็ดเสร็จ (Totalitarian) และรัฐแบบองค์รวม (Integral) ของ Gramsci ​เป็นสิ่งสำคัญในการทำความเข้าใจรูปแบบต่างๆ ของการจัดองค์กรทางการเมือง รัฐแบบองค์รวมแม้จะมีการถูกควบคุมโดยอำนาจนำ แต่​ยังคงรักษาระดับการสร้างความยินยอมจากผู้ถูกปกครอง แตกต่างจากรัฐแบบเบ็ดเสร็จที่พึ่งพาการบังคับที่เปิดเผยมากกว่า (Lin, 2022)


ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับประชาสังคม: แนวคิดของ Gramsci เน้นความสัมพันธ์ที่ซับซ้อนระหว่างรัฐและประชาสังคม โดยเขากล่าวว่า​ประชาสังคมไม่เพียงเป็นพื้นที่ของความสมัครใจเท่านั้น แต่ยังเป็นพื้นที่ที่การครอบงำทางอำนาจถูกสร้างขึ้นและต่อสู้ ท้าทายกันด้วย ​(Brand, Görg, & Wissen, 2007)


การครองอำนาจนำและอำนาจรัฐ: แนวคิดรัฐแบบองค์รวมมีความสำคัญในการทำความเข้าใจว่าอำนาจรัฐไม่เพียงแต่เกี่ยวข้องกับการ​ควบคุมทางการเมืองหรือเศรษฐกิจ แต่ยังเกี่ยวข้องกับการนำทางด้านอุดมการณ์และวัฒนธรรม การสร้างเจตจำนงและความเห็นพ้องร่วม​กันอีกด้วย (Green, 2011)


การประยุกต์ใช้ในการวิเคราะห์ร่วมสมัย: แนวคิดรัฐแบบองค์รวมยังคงมีความสำคัญในการวิเคราะห์ทางการเมืองร่วมสมัย โดยเฉพาะ​อย่างยิ่งในการทำความเข้าใจบทบาทของสถาบันต่างๆ ในการรักษาสถานะเดิมภายใต้หน้ากากของการรักษาความกลมเกลียวและระเบียบ​สังคม (Humphrys, 2018)


สรุป

แนวคิดรัฐแบบองค์รวมช่วยให้เรามองเห็นประเด็นละเอียดอ่อนเกี่ยวกับอำนาจรัฐ โดยเน้นที่ปฏิสัมพันธ์อันซับซ้อนระหว่างสถาบันรัฐที่มี​สภาพบังคับ (Coercion) และกลไกประชาสังคมที่สร้างความยินยอม (Consent) ในการรักษาระเบียบและการครอบงำทางสังคม



และสำหรับท่านที่สนใจ หนังสือของสำนักพิมพ์ Crackers Books นะครับ สามารถทักมาสั่งหนังสือได้ที่เพจของเรา หรือไลน์ OA: ​@crackersbooks

ตอนนี้เรามีหนังสือใหม่ว่าด้วยการส่งออกประชาธิปไตยของสหรัฐอเมริกา เขียนโดย อ.ชุติเดช เมธีชุติกุล จากคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัย​รังสิตครับ รวมถึง Crack/ลัทธิมาร์กซ์/101 และเล่มอื่นๆจะทยอยตามมาในอีกไม่นานครับ


ก่อนจากกัน ฝากทุกท่านอย่าลืมติดตาม เพจ Facebook: CrackersBooks ของเรา รวมถึงแวะไปเยี่ยมเยือนเว็บไซต์ ​CrackersBooks.com เพื่อพบกับสาระดีๆมากมายในหลายรูปแบบทั้ง blogs, basics, paper crunch, free reads รวมถึงของที่ระลึก​ต่างๆบน Shopee ของเราครับ


พบกันใหม่ใน The Basic-Podcast Ep หน้า ทุกวันพฤหัส ทาง CrackersBooks.com/podcasts หรือทาง Spotify, Apple Podcast ​และ YouTube ครับ