Published by Crackers Books, 23 January 2024

Social Contract Theory

Social Contract Theory: A Concise Overview

  1. Fundamental Premise: Social Contract Theory proposes that individuals consent, either explicitly or implicitly, to surrender some of their freedoms and submit to the authority of the state in exchange for protection of their remaining rights (Caelleigh, 2001)(Caelleigh, 2001).
  2. Historical Development: The theory has evolved over centuries, with significant contributions from philosophers like Thomas Hobbes, John Locke, and Jean-Jacques Rousseau. Each philosopher presents a different perspective on the nature and purpose of the social contract, reflecting various views on human nature and the ideal relationship between the individual and the state (Bertram, 1998)(Bertram, 1998).
  3. Hobbesian Perspective: Thomas Hobbes viewed the social contract as necessary to avoid the 'state of nature', which he believed was solitary, poor, nasty, brutish, and short. His version of the contract involves individuals surrendering their rights to an absolute sovereign to ensure peace and security (Silvers & Francis, 2005)(Silvers & Francis, 2005).
  4. Lockean Viewpoint: John Locke's social contract is more optimistic about human nature and emphasizes property rights and limited government. Locke believed that the social contract should preserve the natural rights of life, liberty, and property, and that people have the right to overthrow a government that fails to do so (Keeley, 1995)(Keeley, 1995).
  5. Rousseau's Contribution: Jean-Jacques Rousseau emphasized the concept of 'general will' and collective sovereignty. He argued that the social contract should not only protect individual rights but also promote the collective good, often at the expense of individual freedoms (Butler, 2014)(Butler, 2014).


Conclusion

Social Contract Theory remains a vital concept in understanding the origin of societies and governments. It highlights the balance between individual freedoms and the authority of the state, shaping modern political discourse and constitutional democracy.


Bibliography

  1. Caelleigh, A. (2001). The social contract. Academic medicine: journal of the Association of American Medical Colleges, 76(12), 1174. Link
  2. Bertram, C. D. (1998). Evolution of the social contract. The Economic Journal. Link
  3. Silvers, A., & Francis, L. (2005). Justice through trust: Disability and the “Outlier Problem” in Social Contract Theory*. Ethics, 116, 40-76. Link
  4. Keeley, M. (1995). Continuing the Social Contract Tradition. Business Ethics Quarterly, 5, 241-255. Link
  5. Butler, B. (2014). From Social Contract Theory to Sociable Contract Theory. Contemporary Pragmatism, 11, 1-17. Link


Recommended Citation

Crackers Books. (2024, January 23). Social Contract Theory: A Concise Overview [Crackers Basics]. Retrieved from https://crackersbooks.com/basics-010-social-contract-theory

Facebook Logo Vector
Youtube Official Icon
TikTok Logo Icon

Crackers Books

สวัสดีครับ พบกับ Episode ที่ 10 ของรายการ Crackers Basic Podcast นะครับ

เพราะเรื่องราวและปรากฏการณ์ที่ซับซ้อน

ไม่อาจเข้าใจได้ หากไม่มี basic concenpts ที่ “ดีและมากพอ” นะครับ


Episode 10 วันนี้อธิบายแนวคิดเรื่อง “Social Contract Theory” หรือ “ทฤษฎีสัญญาประชาคม” กันครับ

ก่อนไปฟัง ขอขอบคุณสปอนเซอร์ใจดีรายแรกของสำนักพิมพ์เรานะครับ สำหรับผู้ที่ไปจ.อุตรดิตถ์ ต้องไม่พลาดการไปทาน “ข้าวมันไก่ ศรี​วัย” ซอยโพธิ์ทิพย์ เยื้องห้าง Friday กลางเมืองอุตรดิตถ์ครับ ร้านเก่าแก่แต่ทันสมัย ทานได้ทุกวัย เมนูหลากหลาย ทั้งข้าวมันไก่ หมูกรอบ ​หมูแดง เนื้ออบ กระเพาะปลา รับรองความอร่อยทุกจาน ทุกเมนูครับ

เรามาเริ่มกันเลยครับ



ทฤษฎีสัญญาประชาคม: ภาพรวมแบบกระชับ


แนวคิดพื้นฐาน: ทฤษฎีสัญญาประชาคมเสนอว่า ปัจเจกนั้นได้ยินยอมไม่ว่าจะโดยชัดแจ้งหรือโดยปริยายก็แล้วแต่ ที่จะสละเสรีภาพบาง​ส่วนที่มีอยู่เดิมตามธรรมชาติ และยอมรับอำนาจของรัฐเพื่อแลกกับการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพที่เหลืออยู่ (Caelleigh, 2001).


การพัฒนาในทางประวัติศาสตร์: ทฤษฎีนี้ได้วิวัฒนาการมากว่าหลายศตวรรษ โดยมีนักปรัชญาคนสำคัญที่ได้อธิบายในเรื่องนี้ เช่น ​Thomas Hobbes, John Locke และ Jean-Jacques Rousseau นักปรัชญาแต่ละคนได้นำเสนอทัศนะที่แตกต่างกันเกี่ยวกับ ​“ธรรมชาติ” และ “จุดมุ่งหมาย” ของสัญญาประชาคม ซึ่งได้สะท้อนมุมมองที่แตกต่างกันเกี่ยวกับธรรมชาติมนุษย์และความสัมพันธ์ใน​อุดมคติระหว่างบุคคลและรัฐ (Bertram, 1998).


มุมมองแบบของ Hobbes: Thomas Hobbes มองว่า “สัญญาประชาคม”​ นั้นเป็นสิ่ง “จำเป็น” เพื่อหลีกเลี่ยง ‘สภาวะธรรมชาติ’ ซึ่งเขาเชื่อ​ว่าเป็นสภาวะที่โดดเดี่ยว ยากจน โหดร้าย และสั้นเกินไป สัญญาประชาคมในมุมมองฮอบส์ คือการที่บุคคลได้สละสิทธิของตนให้แก่ผู้นำ​สูงสุดอย่างเบ็ดเสร็จเพื่อให้เกิดสันติภาพและความปลอดภัย (Silvers & Francis, 2005).


มุมมองแบบของ Locke: สัญญาประชาคมของ John Locke มีลักษณะที่มองโลกในแง่ดีเกี่ยวกับธรรมชาติมนุษย์มากกว่าและเน้นสิทธิใน ​“ทรัพย์สิน” และการมี “รัฐบาลที่มีขอบเขตจำกัด” Locke เชื่อว่าสัญญาประชาคมควรรักษาสิทธิตามธรรมชาติของชีวิต เสรีภาพ และ​ทรัพย์สิน และประชาชนมีสิทธิที่จะโค่นล้ม/เปลี่ยนแปลงรัฐบาลที่ไม่สามารถทำเช่นนั้นได้ (Keeley, 1995).


คุณูปการของ Rousseau: Jean-Jacques Rousseau ได้เน้นที่แนวคิด ‘เจตจำนงทั่วไป’ (General Will) และการมี “อธิปไตยร่วมกัน”​ ​(Collective Sovereignty) เขาโต้แย้งว่าสัญญาประชาคมไม่เพียงแต่ควรปกป้องสิทธิของบุคคลเท่านั้น แต่ยังควรส่งเสริมความดีร่วมกัน ​แม้จะต้องเสียสละเสรีภาพของบุคคลบางส่วนบ้างก็ตาม (Butler, 2014).


บทสรุป เราทำความรู้จักแนวคิดนี้ไปทำไม


ทฤษฎีสัญญาประชาคมยังคงเป็นแนวคิดที่สำคัญในการทำความเข้าใจ “การกำเนิดขึ้นของสังคมการเมือง” และ “รัฐบาล” การทำความ​เข้าใจแนวคิดสัญญาประชาคมช่วย ไฮไลต์ให้เราได้เห็นถึงประเด็นสำคัญอย่างการ “สร้างสมดุลระหว่างเสรีภาพของบุคคลและอำนาจของ​รัฐ” ที่ส่งผลต่อการก่อรูปของวาทกรรมทางการเมืองในยุคสมัยต่าง ๆ รวมถึงการทำความเข้าใจประชาธิปไตยในรูปแบบต่างๆครับ



และสำหรับท่านที่สนใจ หนังสือของสำนักพิมพ์ Crackers Books นะครับ สามารถทักมาสั่งหนังสือได้ที่เพจของเรา หรือไลน์ OA: ​@crackersbooks

ตอนนี้เรามีหนังสือใหม่ว่าด้วยการส่งออกประชาธิปไตยของสหรัฐอเมริกา เขียนโดย อ.ชุติเดช เมธีชุติกุล จากคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัย​รังสิตครับ รวมถึง Crack/ลัทธิมาร์กซ์/101 และเล่มอื่นๆจะทยอยตามมาในอีกไม่นานครับ

ก่อนจากกัน ฝากทุกท่านอย่าลืมติดตาม เพจ Facebook: CrackersBooks ของเรา รวมถึงแวะไปเยี่ยมเยือนเว็บไซต์ ​CrackersBooks.com เพื่อพบกับสาระดีๆมากมายในหลายรูปแบบทั้ง blogs, basics, paper crunch, free reads รวมถึงของที่ระลึก​ต่างๆบน Shopee ของเราครับ

พบกันใหม่ใน The Basic-Podcast Ep หน้า ทุกวันพฤหัส ทาง CrackersBooks.com/podcasts หรือทาง Spotify, Apple Podcast ​และ YouTube ครับ