Published by Crackers Books, 21 January 2024

Critical Policy Studies

Critical Policy Studies: Concise Overview

  1. Foundation and Focus: CPS is grounded in the idea that policymaking is not just about inputs and outputs, but also about the values, norms, and interests that shape these processes. It rejects the notion of neutral analysis and aims to scrutinize normative assumptions in policy-making, often through the lenses of social justice, democracy, and empowerment (Fischer et al., 2015)(Fischer, Torgerson, Durnová, & Orsini, 2015).
  2. Methodological Innovations: CPS employs a range of theoretical and methodological tools, including discourse analysis and ethnography, to illuminate the nuances of policy enactment and implementation. This approach helps reveal how policies are interpreted, contested, or resisted in specific contexts (Singh, Heimans, & Glasswell, 2014)(Singh, Heimans, & Glasswell, 2014).
  3. Role of Power and Knowledge: Influenced by thinkers like Foucault, CPS examines how power and knowledge intersect in policy processes. It questions the traditional distribution of power and explores the political spaces and power dynamics in policy-making (Stripple, 2015)(Stripple, 2015).
  4. Ontological and Epistemological Contributions: CPS contributes to the understanding of policy as a complex, socially constructed phenomenon. It challenges the positivist orientation in traditional policy studies, advocating for a more nuanced understanding of policy as contingent, contested, and shaped by social, cultural, and political factors (Espinoza, 2009)(Espinoza, 2009).
  5. Critical Engagement and Future Directions: The field is continually evolving, with scholars seeking to further integrate critical theory with policy analysis. There is an emphasis on developing new concepts and approaches that can address the changing realities of policy-making in a globalized world (Montesano Montessori, Farrelly, & Mulderrig, 2019)(Montesano Montessori, Farrelly, & Mulderrig, 2019).


Conclusion

Critical Policy Studies offers a profound and reflective lens on policy analysis, emphasizing the importance of understanding the complex interplay of power, knowledge, and values in the policy process. It stands as a vibrant area of scholarship, continuously seeking to redefine and enrich the understanding of public policy.


ฟัง Podcast Episode นี้

Bibliography

  1. Fischer, F., Torgerson, D., Durnová, A. P., & Orsini, M. (2015). Introduction to critical policy studies. Link
  2. Singh, P., Heimans, S., & Glasswell, K. (2014). Policy enactment, context and performativity: ontological politics and researching Australian National Partnership policies. Journal of Education Policy, 29, 826-844. Link
  3. Stripple, J. (2015). Foucault and critical policy studies. Link
  4. Espinoza, Ó. (2009). Reflections on the concepts of "politics," public policy and education policy. Education Policy Analysis Archives, 17, 8. Link
  5. Montesano Montessori, N., Farrelly, M., & Mulderrig, J. (2019). Critical Policy Discourse Analysis. Link


Recommended Citation

Crackers Books. (2024, January 21). Critical Policy Studies: A Concise Overview [Crackers Basics]. Retrieved from https://crackersbooks.com/basics-008-critical-policy-studies

Facebook Logo Vector
Youtube Official Icon
TikTok Logo Icon
Premium isolated images

ติดต่อโฆษณา โทร 0953394114

Premium isolated images

สวัสดีครับ พบกับ Episode ที่ 8 ของรายการ Crackers Basic Podcast นะครับ

เพราะเรื่องราวและปรากฏการณ์ที่ซับซ้อน

ไม่อาจเข้าใจได้ หากไม่มี basic concenpts ที่มากพอนะครับ


Episode 8 วันนี้อธิบายแนวคิดเรื่อง “Critical Policy Studies” หรือ “นโยบายศึกษาเชิงวิพากษ์” กันครับ

ก่อนไปฟัง ขอขอบคุณสปอนเซอร์ใจดีรายแรกของสำนักพิมพ์เรานะครับ สำหรับผู้ที่ไปจ.อุตรดิตถ์ ต้องไม่พลาดการไปทาน “ข้าวมันไก่ ศรีวัย” ซอยโพธิ์ทิพย์ เยื้องห้าง Friday กลางเมืองอุตรดิตถ์ครับ ร้านเก่าแก่แต่ทันสมัย ทานได้ทุกวัย เมนูหลากหลาย ทั้งข้าวมันไก่ หมูกรอบ หมูแดง เนื้ออบ กระเพาะปลา รับรองความอร่อยทุกจาน ทุกเมนูครับ

เรามาเริ่มกันเลยครับ



ประการแรก ว่าด้วย รากฐานและโฟกัสหลักของแนวคิด: นโยบายศึกษาเชิงวิพากษ์ (Critcal Policy Studies หรือ CPS) มีรากฐานมาจากแนวความคิดที่ว่า “การกำหนดนโยบาย”​ นั้นไม่ได้เกี่ยวข้องกับเพียงแค่เรื่องของการมองปัจจัยนำเข้าและผลลัพธ์ต่างๆ แต่ยังเป็นเรื่องของ “การให้คุณค่า”​ “บรรทัดฐาน” และ “ผลประโยชน์” ที่มีอิทธิพลต่อกระบวนการเหล่านี้อีกด้วย CPS นั้นปฏิเสธแนวคิดของการวิเคราะห์แบบเป็นกลาง(ที่ปราศจากอคติ) และ CPS เองนั้นมุ่งทำการศึกษาและวิเคราะห์ไปยังประเด็นเชิงสมมติฐานในแบบ “Normative” กล่าวคือเป็นประเด็นในเชิงคุณค่า ใช้มุมมองเกี่ยวกับความยุติธรรมทางสังคม ประชาธิปไตย และการเสริมสร้างพลังให้กับสังคม เป็นต้น


ประการที่สอง ความใหม่ในเชิงวิธีวิทยา: CPS นั้นใช้เครื่องมือทางทฤษฎีและวิธีวิทยาที่หลากหลาย เช่น การวิเคราะห์วาทกรรมและชาติพันธุ์นิพนธ์ เพื่อเผยให้เห็นรายละเอียดของการกำหนดนโยบายและการดำเนินนโยบาย วิธีการนี้ช่วยให้เห็นว่าการตีความ การท้าทาย หรือการต่อต้าน “นโยบาย” ในบริบทที่ “มีความจำเพาะเจาะจง” นั้นจะเป็นอย่างไร


ประเด็นที่สาม บทบาทของอำนาจและความรู้: ด้วยอิทธิพลของนักคิดอย่าง Foucault, CPS นั้นมุ่งศึกษาประเด็นที่ว่า “อำนาจ” และ “ความรู้”​ นั้นมีความสัมพันธ์กันอย่างไรในกระบวนการนโยบาย โดยตั้งคำถามต่อการกระจายอำนาจแบบดั้งเดิมและสำรวจพื้นที่ทางการเมืองและพลวัตของอำนาจในกระบวนการกำหนดนโยบายในมิติต่าง ๆ


ประเด็นต่อมา คุณูปการในเชิงภววิทยาและญาณวิทยา: กล่าวได้ว่า CPS นั้นมีคุณูปการในการช่วยในการทำความเข้าใจ “นโยบายในฐานะที่เป็นปรากฏการณ์ที่ซับซ้อนและสร้างขึ้นทางสังคม” (Socicially constructed) โดยท้าทายต่อสำนักการหาความรู้แบบปฏิฐานนิยมในการศึกษานโยบายแบบดั้งเดิม อีกทั้งยังช่วยทำให้เราเข้าใจนโยบายสาธารณะในระดับที่ละเอียดอ่อนมากขึ้น และเข้าใจได้ว่านโยบายนั้นเป็นสิ่งที่มีเงื่อนไข ถูกท้าทายได้ และถูกสร้างขึ้นโดยปัจจัยทางสังคม วัฒนธรรม และการเมือง


ประเด็นสุดท้าย การมีส่วนร่วมในเชิงวิพากษ์และทิศทางในอนาคต: กล่าวได้ว่าสาขาความรู้ในด้านนี้ ด้านนโยบายศึกษาเชิงวิพากษ์นั้นมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง โดยนักวิชาการพยายามบูรณาการทฤษฎีเชิงวิพากษ์กับการวิเคราะห์นโยบายให้มากขึ้น โดยเน้นการพัฒนาแนวคิดและวิธีการใหม่ ๆ ที่สามารถตอบสนองต่อความเปลี่ยนแปลงในกระบวนการกำหนดนโยบายในโลกยุคปัจจุบันครับ และสำหรับในประเทศไทยเอง ก็มีเครือข่ายนโยบายศึกษาเชิงวิพากษ์ของไทย อยู่เช่นกัน ซึ่งมีแนวร่วมสำคัญอยู่หลายแห่งนะครับ เช่น สถาบันนโยบายสาธารณะ ที่เชียงใหม่ ภาควิชารัฐศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ ที่นเรศวร ที่มหิดล คณะรัฐศาสตร์ม.อุบล ที่นิด้า บางส่วนครับ ลองดูหนังสือ Policy Analysis in Thailand ที่ออกมาเมื่อปี 2023 บก.โดย ปิยะพงษ์ บุษบงค์​และอรอร ภู่เจริญ หนังสือตีพิมพ์กับ The Policy Press ที่อังกฤษครับ


บทสรุป เราทำความรู้จักแนวคิดนี้ไปทำไม

นโยบายศึกษาเชิงวิพากษ์ ได้นำเสนอเลนส์ หรือกรอบในการมองที่ลึกซึ้งในการวิเคราะห์นโยบาย โดยเน้นความสำคัญของการทำความเข้าใจพลวัตที่ซับซ้อนของอำนาจ ความรู้ และการให้คุณค่าในกระบวนการนโยบาย CPS นี้ยังคงเป็นพื้นที่ของการหาความรู้ที่มีชีวิตชีวาและมุ่งหมายที่จะนิยามและเพิ่มพูนความเข้าใจในด้านนโยบายสาธารณะอย่างต่อเนื่องครับ การทำความรู้จักแนวคิดนี้จะไม่ทำให้เรามองเรื่องนโยบายว่าเป็นเรื่องน่าเบื่อ หรือเป็นแค่เรื่องของการประเมินและวัดผลสำเร็จในเชิงตัวเลขเท่านั้นอีกต่อไปครับ

และสำหรับท่านที่สนใจ หนังสือของสำนักพิมพ์ Crackers Books นะครับ สามารถทักมาสั่งหนังสือได้ที่เพจของเรา หรือไลน์ OA: @crackersbooks

ตอนนี้เรามีหนังสือใหม่ว่าด้วยการส่งออกประชาธิปไตยของสหรัฐอเมริกา เขียนโดย อ.ชุติเดช เมธีชุติกุล จากคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิตครับ รวมถึง Crack/ลัทธิมาร์กซ์/101 และเล่มอื่นๆจะทยอยตามมาในอีกไม่นานครับ

ก่อนจากกัน ฝากทุกท่านอย่าลืมติดตาม เพจ Facebook: CrackersBooks ของเรา รวมถึงแวะไปเยี่ยมเยือนเว็บไซต์ CrackersBooks.com เพื่อพบกับสาระดีๆมากมายในหลายรูปแบบทั้ง blogs, basics, paper crunch, free reads รวมถึงของที่ระลึกต่างๆครับ

พบกันใหม่ใน The Basic-Podcast Ep หน้า ทุกวันพฤหัส ทาง CrackersBooks.com/podcasts หรือทาง Spotify, Apple Podcast, YouTube และ Blockdit Podcast ครับ