Published by Crackers Books, 20January 2024
Welfare State
Welfare State: Concise Overview
Conclusion
The welfare state is a dynamic concept that evolves in response to social, economic, and political changes. It remains central to debates about social justice, economic distribution, and the role of government in ensuring the well-being of citizens.
Bibliography
Recommended Citation
Crackers Books. (2024, January 20). Welfare State: A Concise Overview [Crackers Basics]. Retrieved from https://crackersbooks.com/basics-007-welfare-state
สวัสดีครับ พบกับ Episode ที่ 7 ของรายการ Crackers Basic Podcast นะครับ
—
เพราะเรื่องราวและปรากฏการณ์ที่ซับซ้อน
ไม่อาจเข้าใจได้ หากไม่มี basic concenpts ที่มากพอนะครับ
Episode 7 วันนี้อธิบายแนวคิดเรื่อง “Welfare State” หรือ “รัฐสวัสดิการ” กันครับ
—
ก่อนไปฟัง ขอขอบคุณสปอนเซอร์ใจดีรายแรกของสำนักพิมพ์เรานะครับ สำหรับผู้ที่ไปจ.อุตรดิตถ์ ต้องไม่พลาดการไปทาน “ข้าวมันไก่ ศรีวัย” ซอยโพธิ์ทิพย์ เยื้องห้าง Friday กลางเมืองอุตรดิตถ์ครับ ร้านเก่าแก่แต่ทันสมัย ทานได้ทุกวัย เมนูหลากหลาย ทั้งข้าวมันไก่ หมูกรอบ หมูแดง เนื้ออบ อร่อยทุกจาน ทุกเมนูครับ
—
เรามาเริ่มกันเลยครับ
ประเด็นแรก ว่ากันที่นิยามก่อนครับ
รัฐสวัสดิการนะครับ คือระบบอย่างหนึ่ลที่มีรัฐบาลที่มีบทบาทอย่างมากในการ “ปกป้อง”และ “ส่งเสริม” ความกินดีอยู่ดีทั้งในทางเศรษฐกิจและสังคมให้กับพลเมืองของตน โดยการกระจายความมั่งคั่งอย่างเท่าเทียม การกระจายโอกาสอย่างเสมอภาค ตลอดจนการมีความรับผิดชอบต่อสาธารณะให้กับใครก็ตามที่ไม่อาจมีกำลังมากพอที่จะเข้าถึงสวัสดิการพื้นฐาน ให้มีชีวิตที่ดีได้ครับ
ประเด็นที่สอง เผชิญหน้ากับความท้าทาย
อย่างไรก็ตามนะครับรัฐสวัสดิการในประเทศยุโรปเองก็ต้องเผชิญกับความท้าทายอันเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงทางประชากร การเปลี่ยนแปลงในตลาดแรงงาน ตลอดจนผลกระทบจากโลกาภิวัตน์ด้วยครับ การบริหารจัดการรัฐสวัสดิการในยุคหลังยุคอุตสาหกรรมเป็นงานที่ยากลำบากสำหรับรัฐบาลของประเทศในกลุ่มรัฐสวัสดิการในสภาวะการเปลี่ยนแปลงครับ
ประเด็นที่สาม สิทธิทางสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป
กล่าวได้ว่าการปฏิรูปรัฐสวัสดิการในช่วงหลังๆเอง ก็ได้เปลี่ยนแนวคิดดั้งเดิมว่าด้วย “สิทธิทางสังคม” จากความเป็นสากลและความเป็นปึกแผ่นไปสู่หลักการที่เน้น “ความเป็นปัจเจก” และการคัดเลือก (selective) ที่จะให้สวัสดิการมากขึ้น การเปลี่ยนแปลงเหล่านี้โดยหลักแล้วเกิดจากมาตรการรัดเข็มขัด การปฏิรูประบบบำนาญ และความพยายามที่จะขับเน้นข้อบังคับ กฎเกณฑ์ต่อพลเมืองของตนมากยิ่งขึ้น
ประเด็นต่อมา มุมมองทางจริยธรรมและเศรษฐกิจ
กล่าวได้ว่ารัฐสวัสดิการซึ่งมีพื้นฐานจากการกระจายความมั่งคั่งอย่างเท่าเทียมและการมีโอกาสที่เท่าเทียมกัน กลับต้องเผชิญกับความท้าทายทางจริยธรรมและทางเศรษฐกิจครับ โดยเฉพาะเกี่ยวกับ “จริยธรรมในการทำงาน” (work ethic) และหลักการในการให้ความช่วยเหลือในด้านต่างๆ ความท้าทายเหล่านี้ได้นำไปสู่การถกเถียงเกี่ยวกับ “ประสิทธิภาพ” ของรูปแบบรัฐสวัสดิการครับ
ประเด็นสุดท้าย รายได้พื้นฐานและความท้าทายของรัฐสวัสดิการ
เมื่อการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและเศรษฐกิจนั้นเร่งความเร็วมากขึ้นทุกทีในโลกปัจจุบัน คำถามสำคัญเกี่ยวกับสมมติฐานและประสิทธิภาพของรัฐสวัสดิการก็เกิดขึ้นมากขึ้นทุกที แนวคิดสำคัญอย่างเช่นเรื่อง รายได้พื้นฐาน กำลังรับมือกับความท้าทายและปรับปรุงรัฐสวัสดิการให้ไปกันได้กับสภาพความเป็นจริงร่วมสมัยครับ
โดยสรุปครับ เราเรียนรู้ basic ตัวนี้ไปทำไม
กล่าวได้ว่า “รัฐสวัสดิการ” นั้นเป็นแนวคิดที่มีพลวัตและพัฒนาไปตามการเปลี่ยนแปลงทางสังคม เศรษฐกิจ และการเมือง อย่างไรก็ตามแนวคิดเรื่องรัฐสวัสดิการยังคงเป็นแกนหลักในการถกเถียงเกี่ยวกับความยุติธรรมทางสังคม การกระจายรายได้ และบทบาทของรัฐบาลในการประกันความเป็นอยู่ที่ดีให้กับพลเมืองของตนครับ
—
และสำหรับท่านที่สนจใจสั่งหนังสือ Crack ลัทธิมาร์กซ์ 101 ตอนนี้ยังสามารถ Pre-Order ได้นะครับ ในราคา 250 บาท เราส่งให้ฟรี ถ้าหลังจากนี้ไปจะหมดโปรโมชั่นส่งฟรีแล้วนะครับ
—
ก่อนจากกัน ฝากทุกท่านอย่าลืมติดตาม เพจ Facebook: CrackersBooks ของเรา รวมถึงแวะไปเยี่ยมเยือนเว็บไซต์ CrackersBooks.com เพื่อพบกับสาระดีๆมากมายในหลายรูปแบบทั้ง blogs, basics, paper crunch, free reads รวมถึงของที่ระลึกต่างๆครับ
—
พบกันใหม่ใน The Basic-Podcast Ep หน้า ทุกวันพฤหัส ทาง CrackersBooks.com/podcasts หรือทาง Spotify, Apple Podcast, YouTube และ Blockdit Podcast ครับ