Published by Crackers Books, 20January 2024

Primitive Accumulation

Primitive Accumulation: A Concise Overview

  1. Conceptual Origins: Primitive accumulation, as described by Karl Marx, refers to the historical process that led to the formation of capitalism by separating producers from their means of production, thereby creating a class of workers who had only their labor to sell and a class of capitalists who owned the means of production (Roberts, 2020)(Roberts, 2020).
  2. Mechanisms of Primitive Accumulation: This process involved various mechanisms, including the enclosure of common lands, the commodification of labor, and the colonization and exploitation of non-European societies. It was characterized by the forceful and often violent dispossession of peasant populations (Glassman, 2006)(Glassman, 2006).
  3. Role in Capitalist Development: Marx viewed primitive accumulation as integral to the development of capitalism. It was not merely a prelude but a foundational process that enabled the accumulation of capital and the establishment of the capitalist mode of production (Goldman, 2022)(Goldman, 2022).
  4. Contemporary Relevance: Modern scholars, like David Harvey, have extended the concept to describe ongoing processes in contemporary capitalism, such as neoliberal policies and globalization, which continue to dispossess various populations and resources for capital accumulation (Ekman, 2012)(Ekman, 2012).
  5. Critiques and Debates: The concept has been subject to various critiques and reinterpretations, questioning its historical accuracy and applicability to modern capitalist societies. Debates continue around its theoretical implications and relevance to understanding global economic dynamics (Negi & Auerbach, 2009)(Negi & Auerbach, 2009).


Conclusion

Primitive accumulation, as conceptualized by Marx, is critical in understanding the genesis of capitalism and its continuing evolution. The concept highlights the role of dispossession and the transformation of social relations in the creation and maintenance of capitalist systems.


Bibliography

  1. Ekman, M. (2012). Understanding Accumulation: The Relevance of Marx’s Theory of Primitive Accumulation in Media and Communication Studies. tripleC: Communication, Capitalism & Critique. Open Access Journal for a Global Sustainable Information Society, 10, 156-170. Link
  2. Glassman, J. (2006). Primitive accumulation, accumulation by dispossession, accumulation by ‘extra-economic’ means. Progress in Human Geography, 30, 608 - 625. Link
  3. Goldman, W. (2022). Introduction: Primitive Accumulation and Socialism. International Review of Social History, 67, 195 - 209. Link
  4. Negi, R., & Auerbach, M. (2009). The Contemporary Significance of Primitive Accumulation. Human Geography, 2, 89 - 90. Link
  5. Roberts, W. (2020). What was primitive accumulation? Reconstructing the origin of a critical concept. European Journal of Political Theory, 19, 532 - 552. Link


Recommended Citation

Crackers Books. (2024, January 20). Primitive Accumulation: A Concise Overview [Crackers Basics]. Retrieved from https://crackersbooks.com/basics-006-primitive-accumulation

Facebook Logo Vector
Youtube Official Icon
TikTok Logo Icon
Premium isolated images

CRACK/

ลัทธิมาร์กซ์/

101

CRACK/

ลัทธิมาร์กซ์/

101

วัชรพล พุทธรักษา

วัชรพล พุทธรักษา.

Crack/ลัทธิมาร์กซ์/101.-- พิษณุโลก : แครกเกอร์ บุ๊กส์, 2567.

149 หน้า.-- (The Basic Series).


1. ลัทธิคอมมิวนิสต์. 2. มาร์กซ์, ลัทธิ. I. ชื่อเรื่อง.


320.531

ISBN (E-Book) 978-616-94407-3-4

ISBN (Printed Book) 978-616-94407-4-1

ติดต่อโฆษณา โทร 0953394114

สวัสดีครับ พบกับ Episode ที่ 6 ของรายการ Crackers Basic Podcast นะครับ


เพราะเรื่องราวและปรากฏการณ์ที่ซับซ้อน

ไม่อาจเข้าใจได้ หากไม่มี basic concenpts ที่มากพอนะครับ


Episode 6 วันนี้อธิบายแนวคิดเรื่อง “Primitive Accumulation” หรือ “การสั่งสมบุพกาล” กันครับ


ก่อนไปฟัง ขอขอบคุณสปอนเซอร์ใจดีรายแรกของสำนักพิมพ์เรานะครับ สำหรับผู้ที่ไปจ.อุตรดิตถ์ ต้องไม่พลาดการไปทาน “ข้าวมันไก่ ศรีวัย” ซอยโพธิ์ทิพย์ เยื้องห้าง Friday กลางเมืองอุตรดิตถ์ครับ ร้านเก่าแก่แต่ทันสมัย ทานได้ทุกวัย เมนูหลากหลาย ทั้งข้าวมันไก่ หมูกรอบ หมูแดง เนื้ออบ อร่อยทุกจาน ทุกเมนูครับ


เรามาเริ่มกันเลยครับ


ประเด็นแรก

แนวคิดเรื่องการสั่งสม หรือการสะสมบุพกาล เป็นแนวคิดของมาร์กซ์ที่เขียนไว้ในหนังสือ Capital หรือว่าด้วยทุนนะครับ โดยมาร์กซ์ได้อธิบายกระบวนการในประวัติศาสตร์ที่ได้นำมาสู่การก่อตัว การเกิดขึ้นของระบบทุนนิยม ที่เกิดขึ้นมาจากการ “พราก” หรือ “ยึดแย่ง” ผู้ลงแรงผลิต ออกจาก “ปัจจัยในการผลิต” ครับ และนั่นเป็นการทำให้เกิดระบบชนชั้นขึ้นมา ซึ่งมีชนชั้นแรงงานที่มีเพียง labour หรือความสามารถในการลงแรงของตนเท่านั้นในการขายเพื่อแลกกับค่าจ้าง ส่วนอีกชนชั้นหนึ่งนั้นคือชนชั้นนายทุนผู้เป็นเจ้าของปัจจัยการผลิตนั่นเอง


ประเด็นที่สอง

การสั่งสมบุพกาล เป็นกระบวนการที่ไม่ใช่อัตโนมัตินะครับ ไม่ได้เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ แต่กระบวนการดังกล่าวนั้นทำงานโดยมีกลไกของมัน ซึ่งกลไกของกระบวนการดังกล่าวก็คือ “การใช้ความรุนแรง” มาร์กซ์เสนอว่าในประวัติศาสตร์ที่แท้จริงนั้นเป็นประวัติศาสตร์ของการยึดครอง การนำทาสไปใช้ประโยชน์ การปล้นสดมภ์ การฆาตกรรม หรือกล่าวโดยสรุปที่สุดก็คือแท้จริงแล้วการสั่งสมบุพกาล หรือจุดเริ่มต้นของการสะสมของนายทุนก็คือการใช้วิธีการรุนแรงต่างๆเพื่อยึดครองความมั่งคั่งมาเป็นของตนเองให้ได้ (Marx, 1976: 874) เมื่อใช้ความรุนแรงยึดครองได้แล้วเครื่องไม้เครื่องมือในการใช้เพื่อยังชีพก็จะถูกแปรเปลี่ยนไปเป็นทุนและจากปัจเจกผู้ผลิตเพื่อยังชีพก็ได้กลายไปเป็นแรงงานที่ต้องทำงานแลกกับค่าจ้าง (Wage-labourer)


ประเด็นที่สาม

Marx นะครับได้มองว่า การสั่งสมบุพกาลนั้นเป็นส่วนที่เป็นส่วนหนึ่งของการเกิดขึ้นของระบบทุนนิยม ซึ่งไม่ได้เป็นเพียงการเบิกทางมาสู่ทุนนิยมนะครับ แต่การสั่งสมบุพกาลนั้นเป็นกระบวนการที่เป็นรากฐานที่ส่งผลให้เกิดการสะสมทุนขึ้นมา และยังเป็นการสถาปนา “วิถี” การผลิตแบบทุนนิยมอีกด้วย


ประเด็นที่สี่

เกี่ยวกับประเด็นร่วมสมัยนะครับ กล่าวได้ว่าแม้แนวคิดเรื่องการสั่งสมบุพกาลจะเป็นการอธิบายจุดตั้งต้นของทุนนิยมในอดีต แต่ก็มีความสำคัญต่อการอธิบายเศรษฐกิจการเมืองร่วมสมัยด้วยนะครับ นักวิชาการคนสำคัญ อย่างเช่น David Harvey นักวิชาการมาร์กซิสต์คนสำคัญในปัจจุบันเองก็ได้อธิบายว่าแนวคิดดังกล่าวนั้นช่วยอธิบายกระบวนการที่ยังคง “ดำเนินอยู่” (Ongoing) ของลัทธิทุนนิยมร่วมสมัย เช่น แนวนโยบายแบบลัทธิเสรีนิยมใหม่ และโลกาภิวัตน์ ซึ่งเป็นตัวอย่างของกระบวนการกีดกัน/แปลกแยก แรงงานออกจากทรัพยากรในการสะสมทุนอย่างต่อเนื่อง


ประเด็นสุดท้าย

เกี่ยวกับข้อวิจารณ์นะครับ แนวคิดนี้ก็เช่นเดียวกันกับทุก concepts นะครับ ย่อมมีจุดอ่อน หรือมุมที่สามารถถูกวิจารณ์ได้เสมอ แนวคิดเรื่องการสะสมบุพกาลก็จะเป็นในเรื่อง “ความเที่ยงตรง” ในทางประวัติศาสตร์ นะครับ ว่าความรุนแรงโหดร้าย แบบที่มาร์กซ์อธิบายนั้น จะมีหลักฐานในเรื่องนี้อย่างไร เป็นการมองโลกในแง่ร้ายเกินไปหรือเปล่านะครับ นอกจากนี้บางฝ่ายก็ยังวิจารณ์ได้ว่าแนวคิดนี้ก็คงไม่มีประโยชน์อะไรกับโลกปัจจุบันหรือไม่ เพราะอธิบายแค่อดีต ในเชิงสมมติฐานเพียงเท่านั้น


โดยสรุปนะครับ เราควรรู้จักแนวคิดนี้ไปทำไม

การสั่งสมบุพกาล แนวคิดที่พัฒนาโดยมาร์กซ์ในที่นี้มีความสำคัญอย่างมากในแง่ของการอธิบาย “การเกิดขึ้น” หรือ “จุดตั้งต้น”​ ของความสัมพันธ์ทางการผลิตแบบทุนนิยม ซึ่งยังคงสำคัญและอธิบายทุนนิยมได้ในปัจจุบัน แนวคิดนี้ได้ช่วยพวกเราโดยการฉายประเด็นความสนใจไปยังเรื่องของการ “พราก” หรือยึดแย่ง (Dispossession) สิ่งที่เดิมเป็นของทุกคน ไปยังกลุ่มคนเพียงบางกลุ่มเท่านั้น กระบวนการดังกล่าวนอกจากจะเป็นจุดกำเนิดของทุนนิยมแล้ว ยังคงเป็นสิ่งที่ดำรงอยู่อย่างต่อเนื่องอีกด้วยครับ



และ แนวคิดเรื่องการสะสมบุพกาลนี้นะครับ ก็เป็นส่วนหนึ่งในหนังสือวิชาการเล่มแรก ของสำนักพิมพ์ Crackers Books เขียนโดยผมเองเรื่อง Crack/ลัทธิมาร์กซ์/101 หนังสือที่จะช่วยทุกท่าน crack ความรู้เกี่ยวกับทฤษฎีมาร์กซ์และเข้าใจระบบทุนนิยมจากมุมมองเชิงวิพากษ์ได้ดีขึ้น นอกจากการสั่งสมบุพกาล ก็ยังได้อธิบายแนวคิดอื่นๆของมาร์กซ์อีกเช่น สภาวะแปลกแยก ชนชั้น การขูดรีดแรงงาน ฯลฯ เป็นต้น


ท่านที่สนใจสามารถ ดาวน์โหลด e-books ได้ทันที ตั้งต้นจากเว็บไซต์ของเรา หรือ crackersbooks.com/platforms แล้วไปซื้อจาก 4 แอพ ที่เป็นพันธมิตรกับเรา ในราคา 200 บาทเท่านั้น


สำหรับท่านที่อยากได้หนังสือแบบเล่ม สามารถสั่งพรีฯได้วันนี้จนถึง 15 มิถุนายน ปีนี้ ในราคา 250 บาท เราจัดส่งให้ฟรี และจัดส่งปลายมิถุนายน 67 เป็นต้นไป


และผู้สนับสนุนสนพ. Crackers Books ทุกท่าน จะได้รับสิทธิเข้าร่วมใน Crackers Fellows’ Club ซึ่งมีสิทธิพิเศษหลายอย่าง เช่น การเข้าถึงวิดีโอสอนเนื้อหาในหนังสือ และอื่นๆมากมายรออยู่ครับ


ก่อนจากกัน ฝากทุกท่านอย่าลืมติดตามเพจเฟสบุค CrackersBooks ของเรา รวมถึงแวะไปเยี่ยมเยือนเว็บไซต์ CrackersBooks.com ของเรา เพื่อพบกับสาระดีๆมากมายในหลายรูปแบบทั้ง blogs, basics, paper crunch รวมถึงของที่ระลึกต่างๆ


พบกันใหม่ใน the basic ep หน้า ทุกวันพฤหัส 1 ทุ่มตรง ทาง CrackersBooks.com/podcasts หรือทาง Spotify, Apple Podcast, YouTube และ Blockdit Podcast ครับ