Published by Crackers Books, 20January 2024

Ordoliberalism

Ordoliberalism: A Concise Overview

  1. Historical Context and Development: Ordoliberalism emerged in Germany in response to the challenges of the Great Depression and the rise of totalitarian regimes. It was developed by economists of the Freiburg School, such as Walter Eucken, who sought a third way between laissez-faire capitalism and socialist planning (Bonefeld, 2012)(Bonefeld, 2012).
  2. Key Principles: The core idea of ordoliberalism is the necessity of a strong, but limited, state to ensure a competitive market order. Ordoliberals argue that markets do not self-regulate to optimal outcomes and require state intervention to maintain competition and prevent monopolies (Vanberg, 2015)(Vanberg, 2015).
  3. Role of the State: Unlike laissez-faire liberalism, ordoliberalism posits that the state should actively shape the economic order to ensure competition and prevent concentrations of economic power. This involves legal and regulatory frameworks to maintain a level playing field in the market (Fèvre, 2017)(Fèvre, 2017).
  4. Impact on European Economic Policy: Ordoliberal thought has significantly influenced German economic policy and, by extension, the economic policies of the European Union, especially during and after the financial crisis. It emphasizes fiscal discipline, monetary stability, and the importance of rule-based economic policies (Hien & Joerges, 2018)(Hien & Joerges, 2018).
  5. Criticisms and Contemporary Relevance: Critics of ordoliberalism argue that its emphasis on competition and fiscal discipline can lead to austere economic policies that neglect social welfare. However, its principles continue to influence debates on economic governance, particularly in the context of European integration and global economic governance (Bonefeld, 2015)(Bonefeld, 2015).


Conclusion

Ordoliberalism offers a distinctive approach to economic policy, advocating for a strong state role in ensuring fair competition while cautioning against excessive state intervention in the market. Its influence is particularly notable in European economic governance.


Bibliography

  1. Bonefeld, W. (2012). Adam Smith and ordoliberalism: on the political form of market liberty. Review of International Studies, 39, 233-250. Link
  2. Bonefeld, W. (2015). Crisis, Free Economy and Strong State: On Ordoliberalism. ERIS – European Review of International Studies, 2, 16-26. Link
  3. Fèvre, R. (2017). Le marché sans pouvoir: au cœur du discours ordolibéral. Revue D Economie Politique, 127, 119-151. Link
  4. Hien, J., & Joerges, C. (2018). Walking, Current Interest in the Ordoliberal Tradition. International Economic Law eJournal. Link
  5. Vanberg, V. J. (2015). Ordoliberalism, Ordnungspolitik, and the Reason of Rules. ERIS – European Review of International Studies, 2, 27-36. Link


Recommended Citation

Crackers Books. (2024, January 20). Ordoliberalism: A Concise Overview [Crackers Basics]. Retrieved from https://crackersbooks.com/basics-005-ordoliberalism

Facebook Logo Vector
Youtube Official Icon
TikTok Logo Icon
Premium isolated images

CRACK/

ลัทธิมาร์กซ์/

101

CRACK/

ลัทธิมาร์กซ์/

101

วัชรพล พุทธรักษา

วัชรพล พุทธรักษา.

Crack/ลัทธิมาร์กซ์/101.-- พิษณุโลก : แครกเกอร์ บุ๊กส์, 2567.

149 หน้า.-- (The Basic Series).


1. ลัทธิคอมมิวนิสต์. 2. มาร์กซ์, ลัทธิ. I. ชื่อเรื่อง.


320.531

ISBN (E-Book) 978-616-94407-3-4

ISBN (Printed Book) 978-616-94407-4-1

ติดต่อโฆษณา โทร 0953394114

สวัสดีครับ พบกับ Episode ที่ 5 ของรายการ Crackers Basic Podcast นะครับ


เพราะเรื่องราวและปรากฏการณ์ที่ซับซ้อน

ไม่อาจเข้าใจได้ หากไม่มี basic concenpts ที่มากพอนะครับ


Ep 5 วันนี้อธิบายแนวคิดเรื่อง “Ordoliberalism” หรือ “เสรีนิยมแบบออร์โด” กันครับ


ก่อนไปฟัง ขอขอบคุณสปอนเซอร์ใจดีรายแรกของสำนักพิมพ์เรานะครับ สำหรับผู้ที่ไปจ.อุตรดิตถ์ ต้องไม่พลาดการไปทาน “ข้าวมันไก่ ศรีวัย” ซอยโพธิ์ทิพย์ เยื้องห้าง Friday กลางเมืองอุตรดิตถ์ครับ ร้านเก่าแก่แต่ทันสมัย ทานได้ทุกวัย เมนูหลากหลาย ทั้งข้าวมันไก่ หมูกรอบ หมูแดง เนื้ออบ อร่อยทุกจาน ทุกเมนูครับ


เรามาเริ่มกันเลยครับ


ประเด็นแรก

ในเชิงบริบทและพัฒนาการของแนวคิดนะครับ


คำว่า ออร์โด ในภาษาเยอรมันนี้ ถ้าเป็นภาษาอังกฤษก็คือ order หรือหมายถึง “ระเบียบ” นั่นเองครับ เสรีนิยมแบบออร์โด หรืออีกความหมายหนึ่งก็คือ “เสรีนิยมแบบเน้นระเบียบ” นั่นเอง


ลัทธิเสรีนิยมแบบออร์โด ถือกำเนิดขึ้นในเยอรมัน ซึ่งเป็นการตอบสนองต่อความท้าทายของวิกฤติเศรษฐกิจครั้งยิ่งใหญ่ และการก่อตัวขึ้นของระบอบเผด็จการแบบเบ็ดเสร็จ แนวคิดเสรีนิยมแบบออร์โดถูกพัฒนาขึ้นโดยกลุ่มนักเศรษฐศาสตร์จากสำนัก Freiburg เช่นคนอย่าง Eucken, Bohm , Muller-Amack เป็นต้น โดยเสนอแนวทางที่สามระหว่างลัทธิทุนนิยมแบบ laissez-fare หรือลัทธิทุนนิยมแบบปล่อยเสรี และแนวทางวางแผนแบบสังคมนิยม


ประเด็นที่สอง

หลักการสำคัญของแนวคิดนี้นะครับ กล่าวได้ว่าแก่นแกนความคิดที่สำคัญของเสรีนิยมแบบออร์โดก็คือความจำเป็นในการที่จะต้องมีรัฐที่ “เข้มแข็ง” แต่ก็มีบทบาทจำกัด ในการทำหน้าที่สร้างความมั่นใจในการกำกับระเบียบในการแข่งขันของตลาด


พวกนักเสรีนิยมออร์โด เสนอว่าตลาดนั้นไม่ได้กำกับตัวเองจนนำไปสู่การมีผลลัพธ์ที่ดีที่สุด แต่ต้องการให้มีการแทรกแซงโดยรัฐเพื่อทำนุบำรุงการแข่งขัน และป้องกันการผูกขาดในการแข่งขันครับ



ประเด็นที่สาม

เกี่ยวกับบทบาทของรัฐครับ ลัทธิเสรีนิยมประเภทนี้แตกต่างจากเสรีนิยมแบบปล่อยเสรีนะครับ โดยเสรีนิยมออร์โดเสนอว่า รัฐ ควรจะต้องทำหน้าที่ shape หรือกำหนดรูปโฉมของระเบียบทางเศรษฐกิจ “อย่างแข็งขัน” เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับการแข่งขัน และป้องกันการรวมศูนย์อำนาจทางเศรษฐกิจ ซึ่งนั่นรวมถึงการสร้างกรอบทางกฎหมายและข้อกำหนด/แนวปฏิบัติต่างๆ เพื่อรักษาระดับในการมีบทบาทในตลาดอย่างเท่าเทียม



ประเด็นที่สี่

ผลกระทบที่มีต่อนโยบายเศษฐกิจในยุโรป ความคิดแบบเสรีนิยมออร์โดนั้นมีอิทธิพลอย่างมากต่อนโยบายเศรษฐกิจของเยอรมัน และขยายขอบเขตไปยังสหภาพยุโรปด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงระหว่างและหลังจากวิกฤติทางการเงินในยุโรป แนวทางดังกล่าวมุ่งเน้น วินัยทางการคลัง เสถียรภาพทางการเงิน และความสำคัญของการมีนโยบายเศรษฐกิจที่ดำรงอยู่บนหลักของกฎระเบียบที่แน่ชัด


ประเด็นสุดท้าย

เกี่ยวกับข้อวิจารณ์ ที่มีต่อลัทธิเสรีนิยมออร์โดนะครับ กลุ่มที่วิจารณ์ก็จะมีข้อเสนอว่า แนวทางในการมุ่งเน้นการแข่งขันและการมีวินัยทางการคลังนั้นอาจนำไปสู่การมีนโยบายเศรษฐกิจแบบรัดเข็มขัดได้ ซึ่งนั่นก็จะทำให้เกิดการเพิกเฉยหรือละเลยต่อสวัสดิการทางสังคมไป อย่างไรก็ดี หลักการของเสรีนิยมออร์โดก็ยังคงมีอิทธิพลต่อการจัดระเบียบการปกครองทางเศรษฐกิจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งภายใต้บริบทของการรวมตัวกันของสหภาพยุโรปและระเบียบเศรษฐกิจโลกอีกด้วย


สรุปนะครับ

เราจะรู้จักแนวคิดนี้ไปทำไมกัน ลัทธิเสรีนิยมแบบออร์โดนั้นนำเสนอแนวทางที่โดดเด่นในการทำความเข้าใจนโยบายเศรษฐกิจครับ แนวคิดนี้ช่วยให้เรามองเห็นความสำคัญของการมี รัฐที่เข้มแข็ง หรือ strong state เพื่อช่วยทำให้การแข่งขันนั้นเป็นธรรม ก็เป็นการเปิดโลกนะครับ เพื่อให้เข้าใจว่า “ลัทธิเสรีนิยม” เองนั้นก็มีหลายแบบ ที่เราคุ้นเคยกันนั้นเป็น เสรีนิยมแบบปล่อยเสรี โดยรัฐมีบทบาทน้อยที่สุด แต่แบบเยอรมันนั้นกลับกันโดยเน้นว่ารัฐต้องเข้มแข็ง จึงจะบรรลุเสรีภาพทางเศรษฐกิจที่แท้จริงได้ครับ

—-

ก็ขออนุญาต โฆษณาหนังสือแปลของผมเอง ที่จะออกมาในปีนี้กับสนพ. Illumination Editions นะครับ (โฆษณาให้เพื่อนสนพ.อื่นด้วยคัรบ) เป็นการแปลหนังสือเรื่อง รัฐที่เข้มแข้งกับเศรษฐกิจเสรี เขียนโดย อ.ที่ปรึกษาสมัยปริญญาเอกของผมเอง คือศาสตราจารย์ Werner Bonefeld ครับ ฝากคอยติดตามด้วยนะครับ



ก่อนจากกัน ฝากทุกท่านอย่าลืมติดตามเพจเฟสบุค CrackersBooks ของเรา รวมถึงแวะไปเยี่ยมเยือนเว็บไซต์ CrackersBooks.com ของเรา เพื่อพบกับสาระดีๆมากมายในหลายรูปแบบทั้ง blogs, basics, paper crunch รวมถึงของที่ระลึกต่างๆ


และ ล่าสุด หนังสือวิชาการเล่มแรกของเรา เขียนโดยผมเองเรื่อง Crack/ลัทธิมาร์กซ์/101 หนังสือที่จะช่วยทุกท่าน crack ความรู้เกี่ยวกับทฤษฎีมาร์กซ์และเข้าใจระบบทุนนิยมจากมุมมองเชิงวิพากษ์ได้ดีขึ้น


สามารถ ดาวน์โหลด e-books ได้ทันที ตั้งต้นจากเว็บไซต์ของเรา หรือ crackersbooks.com/platforms แล้วไปซื้อจาก 4 แอพ ที่เป็นพันธมิตรกับเรา ในราคา 200 บาทเท่านั้น


สำหรับท่านที่อยากได้หนังสือแบบเล่ม สามารถสั่งพรีฯได้วันนี้จนถึง 15 มิถุนายน ปีนี้ ในราคา 250 บาท เราจัดส่งให้ฟรี และจัดส่งปลายมิถุนายน 67 เป็นต้นไป


พบกันใหม่ใน the basic ep หน้า ทุกวันพฤหัส 1 ทุ่มตรง ทาง CrackersBooks.com/podcasts หรือทาง Spotify, Apple Podcast, YouTube และ Blockdit Podcast ครับ