Published by Crackers Books, 19January 2024

Deliberative Democracy

Deliberative Democracy: A Concise Overview

  1. Core Concept: Deliberative democracy proposes that for a decision to be legitimate, it must be preceded by authentic deliberation, not merely the aggregation of preferences. The process involves discussing, debating, and reasoning in a manner that respects different viewpoints (Gutmann & Thompson, 2004)(Gutmann & Thompson, 2004).
  2. Contrast with Traditional Models: Unlike traditional democratic models that focus on voting and electoral representation, deliberative democracy emphasizes the quality of discussion and the inclusion of diverse perspectives. It seeks to move beyond mere voting to a deeper engagement with the reasons behind policy choices (Miller, 1992)(Miller, 1992).
  3. Practical Applications: Deliberative democracy has been applied in various contexts, including public policy formulation and community decision-making. This approach can manifest in public forums, deliberative polls, and other platforms where open discussion is encouraged (Hansen & Andersen, 2004)(Hansen & Andersen, 2004).
  4. Challenges and Criticisms: The implementation of deliberative democracy faces challenges such as ensuring inclusivity, avoiding dominance by particular groups, and translating deliberations into actual policy decisions. Critics also argue about the feasibility of this model in large, diverse societies (Parvin, 2015)(Parvin, 2015).
  5. Future Directions: Research continues to explore ways to enhance deliberative practices, make them more inclusive, and integrate them effectively within existing political structures. There is an ongoing debate about balancing deliberation with decision-making efficiency (Samuelsson, 2016)(Samuelsson, 2016).


Conclusion

Deliberative democracy represents a significant shift in understanding democratic processes, focusing on the quality of discussion and the inclusiveness of different voices in decision-making. While facing practical challenges, its principles continue to influence modern democratic practices and theories.


Bibliography

  1. Gutmann, A., & Thompson, D. F. (2004). Why deliberative democracy. Link
  2. Miller, D. (1992). Deliberative Democracy and Social Choice. Political Studies, 40, 54-67. Link
  3. Hansen, K. M., & Andersen, V. (2004). Deliberative Democracy and the Deliberative Poll on the Euro. Scandinavian Political Studies, 27, 261-286. Link
  4. Parvin, P. (2015). Is Deliberative Democracy Feasible? Political Disengagement and Trust in Liberal Democratic States. The Monist, 98, 407-423. Link
  5. Samuelsson, M. (2016). Education for Deliberative Democracy: A Typology of Classroom Discussions. Democracy education, 24, 5. Link


Recommended Citation

Crackers Books. (2024, January 19). Deliberative Democracy: A Concise Overview [Crackers Basics]. Retrieved from https://crackersbooks.com/basics-004-deliberative-democracy

Premium isolated images

CRACK/

ลัทธิมาร์กซ์/

101

CRACK/

ลัทธิมาร์กซ์/

101

วัชรพล พุทธรักษา

วัชรพล พุทธรักษา.

Crack/ลัทธิมาร์กซ์/101.-- พิษณุโลก : แครกเกอร์ บุ๊กส์, 2567.

149 หน้า.-- (The Basic Series).


1. ลัทธิคอมมิวนิสต์. 2. มาร์กซ์, ลัทธิ. I. ชื่อเรื่อง.


320.531

ISBN (E-Book) 978-616-94407-3-4

ISBN (Printed Book) 978-616-94407-4-1

ติดต่อโฆษณา โทร 0953394114

The basic 04 -script


สวัสดีครับ พบกับ ep 4 ของรายการ Crackers Basic Podcast นะครับ


เพราะเรื่องราวและปรากฏการณ์ที่ซับซ้อน

ไม่อาจเข้าใจได้ หากไม่มี basic concenpts ที่มากพอนะครับ


Ep 4 วันนี้อธิบายแนวคิดเรื่อง “Deliberative Democracy” หรือ “ประชาธิปไตยแบบปรึกษาหารือ” กันครับ


ก่อนไปฟัง ขอขอบคุณสปอนเซอร์ใจดีรายแรกของสำนักพิมพ์เรานะครับ สำหรับผู้ที่ไปจ.อุตรดิตถ์ ต้องไม่พลาดการไปทาน “ข้าวมันไก่ ศรีวัย” ซอยโพธิ์ทิพย์ เยื้องห้าง Friday กลางเมืองอุตรดิตถ์ครับ ร้านเก่าแก่แต่ทันสมัย ทานได้ทุกวัย เมนูหลากหลาย ทั้งข้าวมันไก่ หมูกรอบ หมูแดง เนื้ออบ อร่อยทุกจาน ทุกเมนูครับ


เรามาเริ่มกันเลยครับ


ประเด็นแรก

ประชาธิปไตยแบบปรึกษาหารือ นะครับเป็นรูปแบบหนึ่งของความเป็นประชาธิปไตย ที่เสนอว่าในการตัดสินใจใดๆ หากจะสร้างความชอบธรรมให้เกิดขึ้นก็จะต้องเป็นไป โดยผ่านกระบวนการพูดคุย ปรึกษา ถกเถียงกันอย่างแท้จริงเสียก่อนครับ ไม่ใช่เป็นเพียงการตัดสินใจโดยผลรวมของเสียงข้างมากเท่านั้น กระบวนการที่จะช่วยในเรื่องนี้ก็เช่นการจัดให้มีพื้นที่ มีเวทีของการโต้แย้งกัน การดีเบต การให้เหตุผลในระดับชั้นต่างๆครับ อย่างไรก็ตามก็จะเป็นไปในลักษณะของการเคารพในมุมมองที่เห็นต่างกันด้วยครับ


ประเด็นที่สอง

ประชาธิปไตยแบบปรึกษาหารือ จะมีความแตกต่างจากรูปแบบประชาธิปไตยแบบดั้งเดิมที่เรามักจะเข้าใจกัน ที่ให้ความสนใจเป็นหลักไปยังเรื่องของการออกเสียงโหวต การเลือกผู้แทน เป็นต้น แต่ ประชาธิปไตยแบบปรึกษาหารือนั้นเน้นและให้ความสำคัญกับ “คุณภาพ” ของการถกเถียงกันครับ และนับรวมเสียงที่เห็นต่างกันด้วย ประชาธิปไตยในรูปแบบนี้พยายามจะเคลื่อนให้ข้ามไปจากการออกเสียงโหวต ไปสู่การมีส่วนร่วม หรือ engagement ที่เข้มข้นเป็นหลักการพื้นฐานเบื้องหลังในการกำหนดนโยบายต่างๆครับ


ประเด็นที่สาม

หากพูดถึงประเด็นการนำ concept ดังกล่าวไปใช้ในทางปฏิบัตินะครับ ประชาธิปไตยแบบปรึกษาหารือเองได้ถูกนำไปประยุกต์ใช้ในบริบทที่หลากหลายมาก เช่น ในเรื่องของกระบวนการกำหนดนโยบายสาธารณะ การตัดสินใจในชุมชน เป็นต้น นอกจากนี้ยังเห็นได้จากการมี public forum ต่างๆ การจัดทำผลสำรวจในเชิงปรึกษาหารือ เป็นต้น


ประเด็นที่สี่

สำหรับข้อวิพากษ์วิจารณ์ที่มีต่อ concept ประชาธิปไตยแบบปรึกษาหารือนะครับ ก็พบว่าถูกท้าทายในแง่ของการ implement หรือการนำนโยบายไปสู่การปฏิบัติว่า ในโลกแห่งความเป็นจริงนั้น การปรึกษาหารือในเชิงลึกนั้นจะทำได้จริงมากน้อยแค่ไหน รวมถึงประเด็นสำคัญอื่นๆ เช่น การมีส่วนร่วม การพยายามไม่ให้ถูก dominate โดยตัวแสดงที่มีอำนาจมากกว่า ตลอดจนการถ่ายทอดประเด็นที่ปรึกษาหารือไปสู่ผลในทางนโยบายที่เป็นรูปธรรมด้วย


ประเด็นสุดท้าย


ในเชิงของทิศทางในอนาคตของ concept ดังกล่าวนะครับ กล่าวได้ว่าในทางวิชาการเนี่ยะ แนวคิดดังกล่าวก็ถูกศึกษาและสำรวจหนทางในการยกระดับกระบวนการปรึกษาหารือให้ดียิ่งขึ้นเรื่อยๆ ทำให้นับรวมและเปิดพื้นที่ให้ตัวแสดงที่หลากหลายอย่างแท้จริง ตลอดจนบูรณาการทุกภาคส่วนเข้าสู่โครงสร้างอำนาจทางการเมืองอย่างมีประสิทธิภาพด้วย อย่างไรก็ดี debates ระหว่างการ balance ให้ดีระหว่างการการหารือและประสิทธิภาพในการตัดสินใจ ก็ยังคงเป็นทิศทางที่สำคัญในอนาคตครับ สำหรับผู้ที่สนใจศึกษา หรือประยุกต์แนวคิดดังกล่าวไปใช้ ก็ลองนำไปเป็นแนวทางดูได้นะครับ



สรุปนะครับ

เราเข้าใจแนวคิดดังกล่าวไปทำไม ?

แนวคิด ประชาธิปไตยแบบปรึกษาหารือ นั้นมีความสำคัญอย่างมากเนื่องจากเป็นการฉายภาพให้เราได้เห็น “ความพยายาม” ในการยกระดับความเข้าใจเกี่ยวกับกระบวนการประชาธิปไตยจากเดิมๆที่เราเข้าใจ ไปสู่ การมี “คุณภาพ” ในการถกเถียงโต้แย้ง และการมีส่วนในกระบวนการอย่างแท้จริง แม้จะถูกมองว่าโลกสวย หรือว่าเป็นไปได้ยากในโครงสร้างอำนาจแบบบ้านเรา แต่การทำความเข้าใจแนวคิดดังกล่าวยิ่งสำคัญ​เพราะทำให้เราได้เห็นนะครับว่า สังคมอื่นๆ นั้นมีระดับของประชาธิปไตยอยู่ที่ระดับไหนกันแล้ว และพวกเราเองยังต้องพัฒนาการเมืองและสังคมของเราไปอีกมากเท่าใดครับ กล่าวโดยสรุปอีกทีก็คือว่า เรารู้แนวคิดเรื่องนี้ไปเพื่อเปิดโลกให้กว้างขึ้นและเข้าใจว่า ประชาธิปไตยนั้นมีหลายรูปแบบ และยังมีรูปแบบที่ดีที่รอให้เราไปถึงอยู่ครับ



ก่อนจากกัน ฝากทุกท่านอย่าลืมติดตามเพจเฟสบุค CrackersBooks ของเรา รวมถึงแวะไปเยี่ยมเยือนเว็บไซต์ CrackersBooks.com ของเรา เพื่อพบกับสาระดีๆมากมายในหลายรูปแบบทั้ง blogs, basics, paper crunch รวมถึงของที่ระลึกต่างๆ


และ ล่าสุด หนังสือวิชาการเล่มแรกของเรา เขียนโดยผมเองเรื่อง Crack/ลัทธิมาร์กซ์/101 หนังสือที่จะช่วยทุกท่าน crack ความรู้เกี่ยวกับทฤษฎีมาร์กซ์และเข้าใจระบบทุนนิยมจากมุมมองเชิงวิพากษ์ได้ดีขึ้น


สามารถ ดาวน์โหลด e-books ได้ทันที ตั้งต้นจากเว็บไซต์ของเรา หรือ crackersbooks.com/platforms แล้วไปซื้อจาก 4 แอพ ที่เป็นพันธมิตรกับเรา ในราคา 200 บาทเท่านั้น


สำหรับท่านที่อยากได้หนังสือแบบเล่ม สามารถสั่งพรีฯได้วันนี้จนถึง 15 มิถุนายน ปีนี้ ในราคา 250 บาท เราจัดส่งให้ฟรี และจัดส่งปลายมิถุนายน 67 เป็นต้นไป


พบกันใหม่ใน the basic ep หน้า ทุกวันพฤหัส 1 ทุ่มตรง ทาง CrackersBooks.com/podcasts หรือทาง Spotify, Apple Podcast, YouTube และ Blockdit Podcast ครับ