Published by Crackers Books, 19January 2024

Subaltern

Subaltern: A Concise Overview

  1. Origins in Gramsci’s Work: Antonio Gramsci, an Italian Marxist, initially developed the concept of the subaltern. He used it to refer to groups in society that are outside the hegemonic power structures and are marginalized in terms of social, political, and cultural engagement (Green, 2011)(Green, 2011).
  2. Postcolonial Studies and Expansion: The term gained significant attention through the work of the Subaltern Studies Group, which focused on the post-colonial societies of Asia and Africa. Scholars in this field expanded the concept to analyze how history and culture are perceived from the perspective of the oppressed or marginalized groups (Louai, 2012)(Louai, 2012).
  3. Contemporary Applications: In contemporary studies, the term ‘subaltern’ is widely used across the social sciences and humanities to discuss marginalized groups and their struggle for voice and representation. It is employed in various contexts, including gender, race, class, and culture (Prakash, 2000)(Prakash, 2000).
  4. Criticisms and Debates: Despite its widespread use, the concept of the subaltern has been criticized for being too broad and ambiguous, which can make its practical application in certain contexts challenging (Marín-Aguilera, 2021)(Marín-Aguilera, 2021).
  5. Intersectionality and Subalternity: Recent studies have explored the intersectionality within the concept of subalternity, examining how factors like race, class, gender, and religion intersect to shape the experiences and identities of subaltern groups (Green, 2013)(Green, 2013).


Conclusion

The concept of the subaltern provides a critical lens to examine marginalized voices and their dynamics in societal structures, emphasizing the importance of understanding and addressing the complexities of marginalization.




Bibliography

  1. Green, M. E. (2011). Rethinking the subaltern and the question of censorship in Gramsci's Prison Notebooks. Postcolonial Studies, 14(4), 387-404. Link
  2. Louai, E. H. (2012). Retracing the concept of the subaltern from Gramsci to Spivak: Historical developments and new applications. Link
  3. Prakash, G. (2000). The impossibility of subaltern history. Nepantla: Views from South, 1(2), 287-294. Link
  4. Marín-Aguilera, B. (2021). Subaltern Debris: Archaeology and Marginalized Communities. Cambridge Archaeological Journal, 31(4), 565-580. Link
  5. Green, M. E. (2013). Race, class, and religion: Gramsci’s conception of subalternity. Link


Recommended Citation

TikTok Logo Icon

Crackers Books. (2024, January 19). Subaltern: A Concise Overview [Crackers Basics]. Retrieved from https://crackersbooks.com/basics-003-subaltern

Facebook Logo Vector
Youtube Official Icon
Premium isolated images

CRACK/

ลัทธิมาร์กซ์/

101

CRACK/

ลัทธิมาร์กซ์/

101

วัชรพล พุทธรักษา

วัชรพล พุทธรักษา.

Crack/ลัทธิมาร์กซ์/101.-- พิษณุโลก : แครกเกอร์ บุ๊กส์, 2567.

149 หน้า.-- (The Basic Series).


1. ลัทธิคอมมิวนิสต์. 2. มาร์กซ์, ลัทธิ. I. ชื่อเรื่อง.


320.531

ISBN (E-Book) 978-616-94407-3-4

ISBN (Printed Book) 978-616-94407-4-1

ติดต่อโฆษณา โทร 0953394114

The basic 03 -script

สวัสดีครับ พบกับ ep 3 ของรายการ Crackers Basic Podcast นะครับ


เพราะเรื่องราวและปรากฏการณ์ที่ซับซ้อน ไม่อาจเข้าใจได้ หากไม่มี basic cocenpts ที่มากพอนะครับ

Ep 3 วันนี้อธิบายแนวคิดเรื่อง “subaltern หรือ ผู้มีสถานะรอง” ครับ


ก่อนไปฟัง ขอขอบคุณสปอนเซอร์ใจดีรายแรกของสำนักพิมพ์เรานะครับ สำหรับผู้ที่ไปจ.อุตรดิตถ์ ต้องไม่พลาดการไปทาน “ข้าวมันไก่ ศรีวัย” ซอยโพธิ์ทิพย์ เยื้องห้าง Friday กลางเมืองอุตรดิตถ์ครับ ร้านเก่าแก่แต่ทันสมัย ทานได้ทุกวัย เมนูหลากหลาย ทั้งข้าวมันไก่ หมูกรอบ หมูแดง เนื้ออบ อร่อยทุกจาน ทุกเมนูครับ


เรามาเริ่มกันครับ

ประเด็นแรก

ต้นกำเนิดของแนวความคิด กล่าวได้ว่าอันโตนิโอ กรัมชี่ นักทฤษฎีมาร์กซิสต์คนสำคัญชาวอิตาเลียน นะครับเป็นผู้ที่อธิบานเอาไว้ โดยเขาใช้คำว่า subaltern เวลาที่กล่าวถึงกลุ่มพลังต่างๆในสังคมที่อยู่นอกวงขอบของโครงสร้างอำนาจนำ และเป็นผู้ที่อยู่ชายขอบในแง่ของอำนาจทางสังคม การเมืองและวัฒนธรรมครับ

อย่างไรก็ดี ผมขอเสริมเพิ่มเติมว่า ผู้มีสถานะรอง เราอย่าเอาเฉพาะประเด็นความเป็นรองทางเศรษฐกิจ เช่น ความยากจน มาเป็นตัวกำหนดนะครับ จริงอยู่คนจนคือผู้มีสถานะรอง แต่ผู้ที่คิดว่าตัวเองเป็นชนชั้นกลาง หรือแม้แต่ผู้ที่มีฐานะทางการเงิน ก็กล่าวได้ว่าเป็นผู้มีสถานะรองเช่นกัน เมื่อพิจารณาจากขอบเขตของอำนาจในทางการเมืองและสังคมครับ


ประเด็นที่สอง

แนวคิดดังกล่าวถูกนำไปใช้และขยายความในสาย Post-Colonial Studies หรือ สาย “หลังอาณานิคมศึกษา” ซึ่งเป็นอีก area หนึ่งในทางวิชาการที่สำคัญและเป็นที่นิยมในตะวันตกนะครับ แนวคิดนี้ได้รับความสนใจอย่างมาก ผ่านงานของกลุ่ม Subaltern Studies Group (SSG) นะครับซึ่งให้ความสนใจกับการเมืองในสังคมเอเชียและอาฟริกา นักวิชาการในกลุ่ม SSG เหล่านี้ ได้ขยายขอบเขตจากที่กรัมชี่ได้ใช้ นำไปสู่การวิเคราะห์ประวัติศาสตร์ และวัฒนธรรมผ่านมุมมองของผู้ถูกกดขี่ หรือกลุ่มคนชายขอบ


ประเด็นที่สาม

การนำแนวคิดไปใช้ ในปัจจุบันนะครับ แนวคิดดังกล่าวได้ถูกนำไปใช้งานหลากหลายครับ ทั้งในทางสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ เพื่อนำไปใช้ช่วยทำความเข้าใจ กลุ่มคนสถานะรองประเภทต่างๆ และการต่อสู้เพื่อ “ส่งเสียง” สร้าง voice และการมีตัวตนในมิติที่แตกต่างกันไป ประเด็นสนใจในการนำไปใช้ที่พบ เช่น การมองความเป็นรองในเรื่องเพศ ชนชั้น ศาสนา ชาติพันธุ์ วัฒนธรรม เป็นต้น


ประเด็นที่สี่

ในเชิงของข้อวิจารณ์ที่มีต่อ concept ก็เป็นธรรมดานะครับ ในทุกๆ concept ก็จะมีทั้งจุดแข็ง และจุดที่ถูกวิจารณ์โดยจุดยืนแบบอื่นๆ แนวคิดผู้มีสถานะรองเองก็เช่นกัน ก็ถูกวิจารณ์ในแง่ของ “ความกำกวม” และ “อาจจะมีลักษณะที่กว้างไป” หรือไม่ในการใช้คำ ซึ่งก็จะถูกท้าทายจากกรอบแนวคิดอื่นๆได้ครับ


ประเด็นสุดท้าย

ทุกวันนี้แนวคิดผู้มีสถานะรอง เป็นแนวคิดที่มีลักษณะทับซ้อนกันอยู่กับแนวคิดอื่นๆ กล่าวคือในการทำความเข้าใจ สภาะที่เป็นรอง เข้าใจผู้ที่เป็นสถานะรอง ไม่อาจแยกขาดจากการเติมเต็ม basic concepts ตัวอื่นๆ เช่น แนวคิดเรื่องชนชั้น เชื้อชาติ ศาสนา เป็นต้น การมี concepts ทางสังคมศาสตร์ที่หลากหลาย ก็จะช่วยให้เราเข้าใจ identity เข้าใจปัญหา เข้าใจประสบการณ์ของผู้มีสถานะรอง ได้ดีขึ้น ซึ่งก็เป็นหน้าที่ของเรา Crackers Books เช่นกันที่จะมาช่วยเติมเต็มความรู้ตรงนี้ผ่านทาง Basic-Podcast ของเราในตอนต่อๆไป



สรุปนะครับ

เราเข้าใจแนวคิดดังกล่าวไปทำไม ?

แนวคิด ผู้มีสถานะรอง ได้มอบ “critical lens” หรือกรอบมุมมองเชิงวิพากษ์ที่สำคัญที่ช่วยให้เราหันไปมอง ประเด็นที่โดยปกติแล้วเราอาจมองข้ามไป หันไปมองกลุ่มคนที่ไม่เคยถูกมองเห็น หรือไม่เคยได้ยินเสียงของเค้า แนวคิดนี้ช่วยดึง focus เหล่านั้นเข้ามาอยู่ในการวิเคราะห์


นอกจากนี้แนวคิดดังกล่าว ยังช่วยให้เราเข้าใจพลวัตของสังคม เข้าใจโครงสร้างอำนาจในสังคมการเมืองนั้นๆ ได้อย่างรอบด้านมากขึ้น มองเห็นความสลับซับซ้อนของปัญหาทางการเมืองมากขึ้น ซึ่งก็เป็นการเพิ่มโอกาสให้เราขบคิดต่อ เกี่ยวกับทางออก หรือการแก้ปัญหาได้ต่อไปในอนาคตครับ



ก่อนจากกัน ฝากทุกท่านอย่าลืมติดตามเพจเฟสบุค CrackersBooks ของเรา รวมถึงแวะไปเยี่ยมเยือนเว็บไซต์ CrackersBooks.com ของเรา เพื่อพบกับสาระดีๆมากมายในหลายรูปแบบทั้ง blogs, basics, paper crunch รวมถึงของที่ระลึกต่างๆ


และ ล่าสุด หนังสือวิชาการเล่มแรกของเรา เขียนโดยผมเองเรื่อง Crack/ลัทธิมาร์กซ์/101 หนังสือที่จะช่วยทุกท่าน crack ความรู้เกี่ยวกับทฤษฎีมาร์กซ์และเข้าใจระบบทุนนิยมจากมุมมองเชิงวิพากษ์ได้ดีขึ้น


สามารถ ดาวน์โหลด e-books ได้ทันที ตั้งต้นจากเว็บไซต์ของเรา หรือ crackersbooks.com/platforms แล้วไปซื้อจาก 4 แอพ ที่เป็นพันธมิตรกับเรา ในราคา 200 บาทเท่านั้น


สำหรับท่านที่อยากได้หนังสือแบบเล่ม สามารถสั่งพรีฯได้วันนี้จนถึง 15 มิถุนายน ปีนี้ ในราคา 250 บาท เราจัดส่งให้ฟรี และจัดส่งปลายมิถุนายน 67 เป็นต้นไป


พบกันใหม่ใน the basic ep หน้า ทุกวันพฤหัส 1 ทุ่มตรง ทาง CrackersBooks.com/podcasts หรือทาง Spotify, Apple Podcast, YouTube และ Blockdit Podcast ครับ